ดัดแปลงไฟหน้า ไฟท้าย และไฟเบรกกะพริบ ผิดหรือไม่?
ไฟหน้ารถยนต์ถูกออกแบบมาให้ใช้ระบบหลอดไฟส่องสว่างที่เฉพาะรุ่น เช่น โคมไฟมัลติรีเฟล็กเตอร์ที่ใช้ "ฮาโลเจน" ก็จะถูกออกแบบจานสะท้อนแสงให้รวบรวมและกระจายแสงให้ทิศทางที่ถูกต้องเป็นเส้นแนวเดียวกัน เพื่อส่องพื้นถนนและบริเวณด้านข้างให้สามารถมองเห็น โดยไม่เป็นอันตรายต่อรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมาหรือรถที่ขับนำหน้าอยู่
รถยนต์รุ่นที่ใช้ไฟแบบหลอดฮาโลเจนนั้น มีทั้งแบบตัวหลอดที่เป็นลักษณะ 2 ใส้ไฟสูง-ต่ำ ซึ่งจะมีจุดกำเนิดแสงไม่เท่ากัน และแบบหลอดที่มีใส้เดียว ตัวจานสะท้อนแสงต้องมีการคำนวนมุมต่างๆ ที่แสงเปล่งออกมาจากหลอด ด้วยการหาค่าที่ถูกต้องจากระบบคอมพิวเตอร์ โดยยึดจุดกำเนิดแสงและให้องศาของจานสะท้อนแสงนั้นควบคุมลำแสงให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งรวมถึงหลอดฮาโลเจนในแบบขั่วต่างๆ ต่างทั้ง H4 H11 H7 เป็นต้น
ภาพจาก philips-lamp
สำหรับโคมไฟรถยนต์ก็แบ่งได้ 2 แบบหลักๆ ก็คือ โคมมัลติรีเฟล็กเตอร์ และโปรเจคเตอร์ โดยแบบโปรเจคเตอร์นั้นจะมีลักษณะเป็นเลนส์นูนที่จะสามารถรวบรวมแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ให้ส่องพุ่งตรงออกไป พร้อมกับรวมโฟกัสของจุดที่สว่างให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นโคมแบบนี้จึงมีความสว่างมากกว่า แบบมัลติรีเฟล็กเตอร์ขึ้นมาอีกนิด
ภาพจาก webpages.charter.net
Reflector ภาพจาก www.ledfactorymart.com
โคมไฟมัลติรีเฟล็กเตอร์
Projector ภาพจาก www.ledfactorymart.com
โคมไฟโปรเจคเตอร์
ที่นี้ถ้าเราไปดัดแปลงแก้ไข เช่น เปลี่ยนแหล่งกำเนิดไฟให้สว่างมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ไฟเดิมไม่สว่างพอ ไฟเดิมเสื่อมสภาพ หรือต้องการเพิ่ม (อัพเดท) ความสว่างให้มากขึ้น (ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการติดฟิลม์กรองแสงกระจกบ้านหน้ามืดเกินไป) จะเป็นอย่างไร?
เมื่อเปลี่ยนเป็นหลอดซีนอน หรือ HID หรือจะเป็น LED จะเกิดอะไรขึ้น?
การเปลี่ยนหลอดไฟที่ไม่ตรงกับของเดิมๆ จากโรงงานหรือมาตรฐาน หลอดเหล่านี้จะไม่สามารถติดตั้งในตำแหน่งเดิมได้ 100 เปอร์เซ็นต์ มักจะคลาดเคลื่อนออกไปจากจุดที่รวบรวมและสะท้อนแสงออกไปสู่ด้านนอก ทำให้ลำแสงฟุ้งกระจายไม่มีทิษทางชัดเจน แต่เมื่อมองสวนกลับมาจะรู้สึกว่ามีความ "จ้า" และ "แสบตา" มากขึ้น และเมื่อใช้งานจริงยิ่งเห็นได้ชัดว่าความสว่างของลำแสงไม่ได้เป็นเส้นตรงหรือ "คัทออฟ" เหมือนเช่นไฟเดิมๆ จากโรงงาน แสงจะกระจายไปโดยรวบๆ มากกว่าส่องที่ถนน ซึ่งโคมไฟเดิมๆ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับหลอดดัดแปลงเหล่านี้
หลอดซีนอนมีหลายแบบเลือกให้ถูกสิ?
จริงอยู่ว่าหลอดไฟซีนอนมีให้เลือกเยอะในท้องตลาด ก็ให้เลือกแบบที่ดีๆ ก็ได้? แต่อย่าลืมว่าจุดกำเนิดแสงไม่โอกาสที่จะตรงกัน 100 เปอร์เซ็นต์เช่นหลอดแท้ๆ อย่างแน่นอน ดังนั้นลำแสงก็คงฟุ้งกระจายอยู่ไม่มากก็น้อย
หลอด LED สิ แสงไม่จ้า...
หลอดไฟ LED ก็นับเป็นการเปลี่ยนหรือดัดแปลงเช่นกัน จุดกำเนิดแสงย่อมไม่ตรงกับหลอดเดิมติดรถมาจากโรงงานแน่นอน และหากเลือกหลอดที่ไม่ได้คุณภาพ ลำแสงจะไม่ส่องเห็นพื้นถนน และยิ่งกระจายไปรอบๆ มากกว่า ผลที่ได้จึงไม่ตรงกับความต้องการ และแม้จะได้หลอดที่มีระบบชิฟที่เลียนแบบหลอดใส้อย่างฮาโลเจนก็ตาม
แล้วโคมโปรเจคเตอร์ล่ะ?
ระบบโคมไฟแบบโปรเจคเตอร์อาจมีข้อได้เปรียบอยู่บ้างในเรื่องของการรวมลำแสงจากแหล่งกำเนิด หากรถยนต์รุ่นที่มีมาให้แล้วก็นับว่าเป็นดีในการอัพเดทระบบหลอดไฟ แต่มีข้อควรระวังว่า ต้องเป็นแสงสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนเท่านั้น สีแปลกๆ นอกจากนี้ ผิดกฎหมายชัวร์! และต้องทำการปรับตั้งลำแสงให้อยู่ในระดับที่ไม่แยงตาคันอื่นอีกด้วย
เปลี่ยนไฟหน้ามันยุ่งยาก เปลี่ยนไฟเบรกหลังหรือไฟท้ายดีกว่า?
ไฟส่องสว่างทั้ง ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยวและไฟถอยหลัง ถูกกฎหมายกำหนดมาอยู่แล้วว่า "ไฟท้ายกับไฟเบรกต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวสีเหลืองอัมพัน ไฟถอยหลังต้องใช้สีขาว และไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาว มองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร" หากดัดแปลงไปจากนี้อาจถูกจับปรับไม่เกิน 2,000 บาท!
การดัดแปลงไฟหน้าให้เป็นแสงสีอื่น หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพิ่มเติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทำให้แสงมีความสว่างจ้ามากจนเกินไป เมื่อนำไปใช้งานบนท้องถนนจะส่องเข้าตาผู้ขับขีรายอื่น ทำให้สายตาพร่ามัวจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้
หากรถยนต์คันไหนที่ดัดแปลงไฟหน้า หรือไฟท้ายที่ไม่ถูกต้อง ก็ควรทำการแก้ไขให้เรียบร้อย มิเช่นนั้นหากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกและปรับฐานฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
อันที่จริงกฎหมายนี้มีมานานแล้วใช้แจ้งประกาศเป็นทางการในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 ไม่ใช่เพิ่มจะมีกฎหมายออกมาใหม่ แถมเอามาลงซ้ำในวันที่ 14 มิถุนายน 2559 อีกด้วยนะครับ....
มาดูเนื้อหาประกาศจากกรมการขนส่งทางบกว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
กรมการขนส่งทางบก เตือน!!! เจ้าของรถที่ดัดแปลง "ไฟซีนอน" หรือ "ไฟเบรก" ให้มีแสงสว่างจ้ามากเกินไป นอกจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังมีความผิดตามกฎหมายต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
นายเทียนโชติ จงพีร์เพียร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีเจ้าของรถยนต์และรถจักรยานยนต์นำรถไปดัดแปลงแก้ไขหลอดไฟหน้ารถ (ไฟซีนอน) และไฟเบรก (ไฟหยุด) ให้มีแสงสว่างจ้ามากเกินไป หรือบางรายไปปรับแต่งทิศทางการส่องสว่างของแสงไฟให้สูงขึ้นจากเดิม เพื่อให้ส่องสว่างได้ไกลขึ้น ซึ่งเป็นการรบกวนสายตาของผู้ขับขี่รายอื่น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น และมีความผิดตามกฎหมายต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
นายเทียนโชติ กล่าวเพิมเติมว่าหลอดไฟซีนอนแม้จะมีข้อดในเรื่องของประสิทธภิาพการส่องสว่าง แต่ก่ารที่จะนำมาใช้เป็นหลอดไฟหน้ารถได้อย่างปลอดภัยนั้น หลอดไฟจะต้องมีคุณลักษณะในเรื่องแนวจำกัดของแสง และรูปแบบการกระจายของแสงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดย "ไฟหน้า" ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์จะต้องมีแสงสีขาวหรือเหลืองอ่อน จำนวน 2 ดวง ติดตั้งอยู่ในระดับเดียวกันที่หน้ารถด้านซ้ายและขวาแห่งละ 1 ดวง ติดตั้งสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร ความสว่างของไฟสามารถส่องทางด้านหน้าได้อย่างชัดเจน และไม่เอียงไปทางขวาจนรบกวนสายตาของผู้อื่น สำหรับไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดงไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาว มองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร โดยการดัดแปลงไฟหน้าให้เป็นแสงสีอื่น หรือดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบหรือเพ่มิ เติมส่วนหนึ่งส่วนใดเข้าไป จนทำให้แสงมีความสว่างจ้ามากจนเกินไป เมื่อนำไปใช้งานบนท้องถนนจะส่องเข้าตาผู้ขับขี่รายอื่น ทำให้สายตาพร่ามัวจนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หากฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยังฝากถึงเจ้าของรถอย่าได้ไปดัดแปลงไฟหน้าให้ผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะการเปลี่ยนหลอดไฟเป็นไฟซีนอน หรือเปลี่ยนเป็นสีอื่น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว เนื่องจากการดัดแปลงหลอดไฟจะทำให้แสงที่ส่องออกมาผิดเพี้ยน หรือสว่างจ้าเกินไป จนรบกวนสายตาผู้อื่นที่ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ดัดแปลงมาแล้วก็ขอให้รีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง และขอความร่วมมือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หรือศูนย์บริการรถยนต์ หากพบรถที่ติดตั้งโคมไฟหน้ารถไม่ได้มาตรฐานขอให้ปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องด้วย เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน
อ้างอิงจาก