ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รีวิว Toyota Fortuner 2.4 4WD กรุงเทพฯ-นครพนม-มุกดาหาร แค่นี้ก็เกินพอ

icon 12 มี.ค. 61 icon 34,190
รีวิว Toyota Fortuner 2.4 4WD กรุงเทพฯ-นครพนม-มุกดาหาร แค่นี้ก็เกินพอ

Toyota Fortuner 2.4 4WD กรุงเทพฯ-นครพนม-มุกดาหาร แค่นี้ก็เกินพอ
Toyota Fortuner (โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์) รถยนต์อเนกประสงค์ SUV หรือ PPV ที่เราคุ้นเคยที่มีให้เลือก 2 เครื่องยนต์และ 2 ระบบขับเคลื่อน ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะตอบสนองความต้องการใช้งานที่แตกต่างกันไป สำหรับในทริปนี้เป็นเดินทางด้วยรถยนต์ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 2.4 ลิตร ซิกม่าโฟร์ (Toyota Fortuner 2.4 4WD) ขับเคลื่อน 4 ล้อ กับเส้นทางกรุงเทพฯ - นครพนม - มุกดาหาร 4 วัน 3 คืน ระยะทางโดยรวมแล้วน่าจะไม่เกิน 1,500 กม. แต่เมื่อจบทริปจัดไปกว่า 2,000 กม.! 

เส้นทางทดสอบ
เส้นทางที่ใช้ทดสอบหรือจะเรียกว่าขับใช้งานจริงก็ย่อมได้ เริ่มจากถนนวัชรพล จ.กรุงเทพฯ มุ่งหน้าจ.นครพนม และเลยไปถึงจ.มุกดาหาร ตรงด่านพรมแดนมุกดาหาร (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2) โดยใช้เส้นทางจาก "อากู๋" เนื่องจากไม่เคยขับรถไปเองสักที แต่ต้องขอบคุณ Google Map ที่แม่นมากๆ สามารถเดินทางได้จนถึงจุดหมายปลายและกลับสู่กรุงเทพฯ ได้อย่างปลอดภัย ระยะทางจากกรุงเทพฯ - นครพนมนั้นกว่า 700 กม. และหากไปถึงมุกดาหารก็บวกอีกราวๆ 100 กม. รวมเป็น 800 กม. ตลอดทั้งทริปนี้จนกลับกรุงเทพฯ กว่า 1,600 กม. แต่เมื่อดูระยะทางจริงทะลุไปกว่า 2,000 กม. เลยทีเดียวครับ 

ข้อมูลทางเทคนิค

Toyota Fortuner รุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 16 วาล์ว DOHC VN Turbo Intercooler ขนาด 2,393 ซีซี กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 400 นิวตันเมตร ที่ 1,600-2,000 รอบต่อนาที เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อม Sequential Shift และ Paddle Shift พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซิกมาร์โฟร์ ปรับรูปแบบการขับเคลื่อนได้ 3 แบบ คือ 2H, 4H และ 4L ถังน้ำมันจุได้ 80 ลิตร ช่วงล่างด้านหน้าแบบอิสระปีกนกคู่ พร้อมคอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง ด้านหลังแบบโฟร์ลิงค์คอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง พร้อมดิสก์เบรก 4 ล้อ (แล้วนะจ๊ะ) แต่พวงมาลัยพาวเวอร์ยังใช้ระบบไฮดรอลิกอยู่ 

ภายนอกและภายใน

ภายนอกงดงามตามแบบฉบับโตโยต้าคือ ผสานความโค้งมนเข้ากับเหลี่ยมสันในบางมุมมอง แต่โดยรวมแล้วออกแบบได้หรูหราดุจ SUV ระดับพรีเมี่ยม ด้วยการตกแต่งวัสดุโครเมี่ยมและไฟหน้าที่ดูแพงบ่งบอกฐานะ พร้อมกับกระจังหน้าที่ฉีกสไตล์เดิมๆ ออกไปพอสมควร 


ไฟหน้าแบบ LED Bi-Beam ที่ถูกปรับแต่งให้ไม่แยงตาชาวบ้านแล้ว ไฟตัดหมอก LED ส่วนไฟท้ายสุดหรูหรา คาดแถบโครเมียมตรงกลางฝากระโปรงท้ายยิ่งดูไฮโซเข้าไปอีกขั้น เหลือเพียงกระจกมองข้างที่เป็นทรงเดียวกับ "รีโว่" เท่านั้นเอง



สำหรับภายในของฟอร์จูนเนอร์รุ่น 2.4 ลิตร ขับเคลื่อน 4 ล้อนับว่าไม่แตกต่างด้วยโทนหนังสีน้ำตาลเข้มที่ดูสวยหรูหราและน่าจะเปื้อนได้ยากกว่าสีครีมในรุ่น 2.8 ลิตร ขับเคลื่อน 4 ล้อ ชุดคอนโซลหน้า-กลาง และแผงประตูจะดูเรียบหรูและน่าใช้มากขึ้น



เบาะคู่หน้าปรับไฟฟ้า เบาะตอนที่สอง ปรับและพับอเนกประสงค์แบบ 60:40 ส่วนเบาะแถวสามพับแบบเก็บขึ้นด้านข้างที่บางคนก็แอบบ่นว่าเกะกะบังมุมกระจกมองหลัง แต่บางคนก็บอกว่าวางของได้สะดวกดีเพราะพื้นเรียบ ส่วนในทริปที่ได้ลองสัมผัสเอง รู้สึกว่าเบาะหลังก็ไม่ได้เกะกะมากนัก และมีผลในการมองกระจกมองหลังน้อยมากๆ แต่ว่าการพับเก็บขึ้นและการกางเอาลงนั้นจะลำบากกว่าชาวบ้านเขานิดหน่อยครับ ต้องใช้แรงเยอะนิดนึง และก็มีเสียงของเบาะดังบางจังหวะที่ตกหลุมแรงๆ หรือผ่านถนนที่สะเทือนมากๆ 
 



ชุดเครื่องเสียงฟังเพลินๆ สบายหู มาพร้อมเนวิเกเตอร์ที่ให้ความละเอียดสูง แต่ในการใช้งานต้องตั้งใจค้นหาสถานที่และต้องใส่ชื่อสถานที่นั้นๆ ให้ถูกต้องตามจริง จนบางคร้งอาจค้นหายากเพราะไม่รู้ชื่อเต็มๆ ของสถานที่นั้น สุดท้ายก็ต้องพึ่ง "อากู๋" อีกครั้งหนึ่ง ส่วนระบบแอร์นั้นก็เย็นทั่วถึงทุกที่นั่งพร้อมระบบอัตโนมัติ เบาะหลังก็มีพื้นที่กว้างนั่งได้จริงๆ และสะดวกด้วยประตูท้ายไฟฟ้า

 

การขับทดสอบ

โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ 2.4 ลิตร สามารถเปลี่ยนความคิดที่ว่า เครื่องแค่นี้จะวิ่งไหวหรือ? ไปในทันที เพราะจากการลองใช้อัตราเร่งทั้งการออกตัว อัตราเร่งแซงในช่วงความเร็วต่างๆ แล้ว กำลังจากเครื่องยนต์ 2.4 ลิตร 400 นิวตันเมตร นับว่าเกินพอเลยครับ เพราะในชีวิตประจำวันนั้นคงไม่ได้ไปแข่งไต่เขาลงห้วยกับใคร ดังนั้นด้วยกำลังเครื่องยนต์ระดับ 150 แรงม้านี้ มีพลังให้ใช้งานได้อย่างสบายใจมากๆ 

การเดินทางทางเริ่มต้น ณ เวลา 23.00 น. เริ่มขับในช่วงเวลากลางคืนเพื่อให้ไปสว่างในช่วงที่จะถึงอุทยานแห่งชาติภูพาน เพราะเป็นถนนวิ่งลัดเลาะตามไหล่เขา หากขับในเวลากลางคืนอาจเสี่ยงเกินไป และให้ไปถึงจ.นครพนมก่อนเที่ยงวัน 

ยามค่ำคืนนั้นระบบไฟหน้า LED ของฟอร์จูนเนอร์สว่างสมคำร่ำลือ (แยงตา) แต่สำหรับคันที่ทดสอบนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขระดับไฟหน้ามาแล้ว โดยดูจากการที่จอดติดท้ายรถเก๋ง ลำแสงไฟหน้าจะไปถึงกระจกมองข้างหรือกระจกมองหลังรถคันด้านหน้า (หากไม่จอดชิดมากๆ) หรือดูจากระยะลำแสงที่ส่องผิวถนนเมื่อรถโล่งๆ จะกดต่ำลงพื้นมากขึ้นกว่าเดิมพอสมควรครับ เพราะเมื่อขับผ่านเส้นทางมืดมากๆ จำเป็นต้องคอยเปิดไฟสูงดูทางเป็นระยะๆ 

เมื่อมาถึงแถวๆ จ.นครราชสีมาผ่านเข้าสู่จ.มหาสารคามก็เริ่มเห็นแสงสว่าง ซึ่งเป็นถนนที่โล่งมากๆ ขับชิลๆ เพลิน แม้เป็นทางตรงยาวๆ เบาะนั่งของฟอร์จูนเนอร์กลับให้ความสบายตัวไม่รู้สึกเมื่อยล้ามากนัก ด้วยท่านั่งที่ปรับได้จากเบาะคนขับไฟฟ้า 8 ทิศทาง  

เมื่อขับไปอีกราวๆ 2-3 ชม. เข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์ก็เริ่มใกล้ถึงจุดที่คิดว่าน่าจะลำบากในการขับขี่ขึ้นเขาในช่วงภูพาน โดยก่อนไปนั้นได้อ่านรีวิวเส้นทาง หลายคนก็บอกว่าทางขึ้นเขาจะลำบาก อันตรายและต้องระมัดระวังอย่างดี แต่เมื่อถึงช่วงเทือกเขาภูพาน และผ่านเส้นทางคดเคี้ยวไปมาและทางชันต่างๆ แล้ว สำหรับฟอร์จูนเนอร์นั้น สบายๆ เลยครับ ควบคุมก็ง่าย อัตราเร่งก็ดี ระยะเบรกหรือน้ำหนักในการใช้เบรกก็นุ่มสบายเท้า ออกแรงไม่มากนักก็สามารถชะลอหรือหยุดรถในยามคับขันได้อย่างมั่นใจ อาจมีในบางจังหวะที่ต้องหักเลี้ยวโค้งมากๆ ตัวรถมีอาการโคลงบ้าง ซึ่งต้องลดความเร็วลงอีกเพื่อให้ขับผ่านไปได้อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย เพราะแม้ว่าระบบช่วงล่างและเบรกจะดีแค่ไหน แต่รถที่รูปทรงสูงๆ และล้อโตใส่ยาง All-terrain ย่อมมีขีดจำกัดครับ ผลคือ ถ้าเข้าโค้งแรงเกินไป หน้าดื้อเล็กน้อย ต้องลองใส่ระบบ 4H เพิ่มเข้าไป จึงควบคุมได้ดีมากขึ้นและไม่มีเสียงร้องของยางมากนัก



ในการขับรถระยะทางยาวๆ หลายร้อยกม. แทบจะไม่มีโอกาสใช้ระบบซิกมาร์โฟร์เลย จะมีก็เพียงช่วงผ่านไหล่เขาภูพานที่ตั้งใจทดลองระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เมื่อเข้าโค้งต่างๆ เท่านั้น เพราะถนนต่างๆ ส่วนมากค่อนข้างดี เป็นถนนคอนกรีตส่วนใหญ่ อาจมีบางช่วงที่เป็นหลุมบ่อหรือผิวถนนชำรุดอยู่ ซึ่งนับเป็นข้อดีของการใช้รถยนต์อเนกประสงค์คันโตอย่างฟอร์จูนเนอร์ เพราะสามารถรูดผ่านผิวทางพังๆ ได้อย่างนุ่มนวล


ขับกันต่อ แวะพักปั๊มบ้าง จนเข้าสู่จ.สกลนคร ผ่านอ.หนองหารด้วยถนนนิตโย เตรียมพร้อมเข้าจ.นครพนม สักการะพระธาตุชื่อดัง ด้วยความเพลิดเพลินบวกกับทำความเร็วพอสมควรราวๆ 110 - 120 กม./ชม. สักพักใหญ่ก็ถึงจุดหมายแห่งแรกแล้วคือ จ.นครพนม

  
เมื่อมาถึงก็ตรงไปวัดพระธาตุพนมเพื่อกราบสักการะขอพรให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง โดยในช่วงที่ไปนั้นเป็นเทศกาลงานพระธาตุพนมประจำปีพอดี จึงมีผู้คนมากมายทั้งไทย - ลาว ข้าวของวางขายกันเต็มพื้นที่ และบางจุดก็มีเรียกเก็บค่าที่จอดรถ แนะนำให้นำไปจอดในโรงเรียนพระธาตุพนม เพราะรายได้จากค่าจอดรถเอาไปพัฒนาโรงเรียนต่อไป 


พระธาตุพนม





หลังจากนั้นตระเวนไหว้พระธาตุอีก 3 - 4 แห่งเท่าที่จะสามารถไปได้เช่น พระธาตุมรุกขนคร พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน และพระธาตุเรณู  

พระธาตุประสิทธิ์



รัชกาลที่ 9 เคยเสด็จพระราชดำเนินมาที่วัดพระธาตุประสิทธิ์

พระธาตุท่าอุเทน

ได้จอดถ่ายคู่กับพระธาตุท่าอุเทน

พระธาตุเรณู
หลังจากไหว้พระอิ่มบุญแล้วก็ท่องราตรีชมบรรยากาศในเมืองบริเวณหอนาฬิกาและถนนคนเดินที่อยู่ใกล้ๆ กัน มีของหลากหลายชนิดคล้ายๆ ถนนคนเดินในแต่ละจังหวัดทั่วๆ ไป










ในวันถัดไป เดินทางมุ่งสู่จ.มุกดาหาร อีก 100 กว่ากม. ที่ด่านพรมแดนมุกดาหารเพื่อข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 ไปฝั่งลาวด้วยรถบัส สู่เมืองสะหวันนะเขต เพื่อไปสักการะพระธาตุโพน ซึ่งนับเป็นพระธาตุที่อยู่คู่กับพระธาตุพนมของไทยเรา

เข้าสู่จังหวัดมุกดาหาร

เมืองที่จะเดินทางไปคือ "สะหวันนะเขต"

จอดรถที่หน้าด่านได้ฟรีและเจ้าหน้าที่บอกว่าปลอดภัยชัวร์...

รถบัสที่จะพาข้ามสะพานไทย-ลาว 2 

ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร

เวลาในการเดินรถใน 1 วัน 

ต้องแย่งๆ กันหน่อยเพราะคนเยอะมากๆ

เบียดกันเล็กน้อย แต่ใช้เวลาไม่นานก็ถึงอีกฝั่งแล้ว

ถึงฝั่งชายแดนลาวแล้ว และเราก็ต้องจ้างรถท้องถิ่นในการพาไปพระธาตุโพนด้วยราคา 1,800 บาท (ต่อรองราคาได้นะครับ) 

เอ๊ะ ปั๊มของไทยมาไกลถึงนี่เลย

รับเงินเราปุ๊ปเติมน้ำมันปั๊ป

มีรถหน้าไม่คุ้นเยอะมาก

ดูเหมือนจะเจอเรื่อยๆ 

ถนนค่อนข้างเป็นแบบในภาพตลอดทาง บางช่วงก็เป็นหลุมบ่อ


ถึงแล้ว วัดเจติยาราม พระธาตุโพน

ภายในบริเวณวัด

พระธาตุโพนตั้งอยู่โดดเด่น


ก่อนสักการะหากเป็นสุภาพสตรีจำเป็นต้องยืมผ้าถุงนุ่งก่อนเข้าบริเวณพระธาตุ และให้บริการ "ฟรี"

บทสวดขอพรพระธาตุที่ "อ่านยากจริงๆ "

ชุดธูปเทียนเพื่อบูชา แบบไหว้ขอพรธรรดา แต่หากจะบนบานจะมีอีกชุดใหญ่อีกแบบหนึ่ง



ชาวบ้านทยอยมาเรื่อยๆ 

เมื่อไหว้ขอพรเสร็จเดินทางกลับด่านสะหวันนะเขต

ถนนจะมีสภาพอย่างที่เห็น ค่อนข้างจะสมบุกสมบัน


กลับถึงท่ารถบริเวณด่านสะหวันนะเขตก็ซื้อตั๋วรถบัสเดินทางข้ามแม่น้ำโขงกลับสู่แผ่นดินไทย

ขากลับชิลๆ ไม่ค่อยแน่นมากเท่าไหร่ 

ป้ายต้อนรับกลับสู่ฝั่งประเทศไทยหลังจากข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 

ขับชมบรรยากาศในเมืองมุกดาหาร แวะหาร้านกินข้าวก่อนกลับ จ.นครพนม

มาตามลายแทงร้านดัง ลงเอยที่ร้านนี้






แวะช้อปของฝากร้าน (ที่เขาว่า) ดัง รสชาติพอได้

แวะเติมน้ำมันก่อนขับยาวๆ 


ระหว่างทางแวะถ่ายรูปก่อนกลับ


จบทริปการเดินทางที่แสนประทับใจได้ทั้งอิ่มบุญ และได้พักผ่อน และสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนในจังหวัดต่างๆ ที่ได้ไปและยิ่งไปกว่านั้นได้สักการะพระธาตุอันศักดิ์ศิกธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวนครพนม และพระธาตุโพน สปป.ลาว 
ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา
Toyota Fortuner 2.4 4WD รถยนต์อเนกประสงค์ที่มาพร้อมความสะดวกสบายทั้งการขับขี่ทางไกลและผู้โดยสาร สมรรถนะเครื่องยนต์ดีเซล 2.4 ลิตร เทอร์โบ 150 แรงม้า กับแรงบิด 400 นิวตันเมตร พารถ SUV/PPV ไซส์โตขนาดนี้ไปได้อย่างทันใจไม่เป็นปัญหา ให้อัตราเร่งที่ดี การแรงแซงที่ทันใจ และให้ความนุ่มนวลตลอดการเดินทาง นอกจากนี้ยังมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ซิคม่าโฟร์ ที่ช่วยให้ขับได้ปลอดภัยมากขึ้น เมื่อเขาโค้งหรือเจอสภาพถนนเปียกลื่น นับว่าจบในคันเดียวเที่ยวคุ้มค่า และประหยัดน้ำมันอีกด้วย โดยการเดินทางครั้งนี้ใช้น้ำมันไป-กลับตลอดทริป ด้วยระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร ไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น เหลือเงินเที่ยวได้อีกเพียบ สำหรับค่าตัวในรุ่น 2.4 ลิตร ซิคม่าร์โฟร์ ราคา 1,419,000 บาทเท่านั้น 
แท็กที่เกี่ยวข้อง toyota fortuner โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ท่องเที่ยว ไปไหนดี เที่ยวไหนดี ไปเที่ยวไหนดี รีวิว toyota fortuner 2.4 4wd toyota fortuner 2.4 4wd รีวิว โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)