ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

รีวิว MG GS 2.0 และ 1.5 ลิตร ลองให้รู้ ใครดีใครเด่น

icon 26 พ.ค. 60 icon 33,323
รีวิว MG GS 2.0 และ 1.5 ลิตร ลองให้รู้ ใครดีใครเด่น

ลองให้รู้ MG GS 2.0 และ 1.5 ลิตร ใครดีใครเด่น
ทีมงานเช็คราคา.คอมได้มีโอกาสรับรถ MG GS ทั้งรุ่น 2.0 ลิตร เทอร์โบ และ 1.5 ลิตร เทอร์โบ รุ่นท็อปสุด (X) ของทั้ง 2 แบบเพื่อนำมาทดสอบพร้อมกัน วัดไปเลยว่ารุ่นไหนมีจุดเด่น ต่างกันอย่างไร ทั้งในด้านฟังก์ชันการใช้งาน เทคโนโลยี สมรรถนะเครื่องยนต์และความคุ้มค่า

MG GS 2.0 Turbo 

MG GS 1.5 Turbo
ภายนอก
ภายนอกของ MG GS ทั้ง 2 รุ่น มีจุดที่แตกต่างกัน 5 จุดหลักๆ คือ รุ่น 2.0 มีที่ฉีดน้ำล้างไฟหน้า ล้อแม็ก 18 นิ้ว สีเงินสลับดำเงาท่อไอเสียแบบ 2 ฝั่ง ส่วนในรุ่น 1.5 ล้อแม็ก 17 นิ้ว และปลายท่อไอเสียฝั่งเดียว  

รุ่น 2.0 เทอร์โบ มีที่ฉีดล้างโคมไฟหน้าและล้อแม็ก 18 นิ้ว

รุ่น 2.0 เทอร์โบ ปลายท่อไอเสียแบบคุ่

รุ่น 1.5 เทอร์โบ ล้อแม็ก 17 นิ้วลายเรียบหรู




ภายใน
ภายในดีไซน์เดียวกันเน้นโทนสีดำ มีจุดแตกต่างที่ออปชั่นบางอย่าง เช่น รุ่น 2.0 ให้เบาะหนังแท้เพิ่มมาด้วย เบาะนั่งข้างคนขับปรับไฟฟ้า 



รุ่น 2.0 จะมีปุ่มเลือกระบบขับเคลื่อน 4 ล้อมาให้ด้วย
















เครื่องยนต์

MG GS 2.0 ลิตร เครื่องยนต์เบนซิน เทอร์โบ 2.0 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ไดเรคอินเจคชั่น 218 แรงม้าที่ 5,300 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตรที่ 2,500 - 4,000 รอบต่อนาที ผ่านระบบเกียร์อัตโนมัติ TST-Twin Clutch Sportronic Transmission แบบ 6 จังหวะ พร้อมแพดเดิลชิฟต์หลังพวงมาลัย ผ่านระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ระบบเฟืองท้ายใช้แบบไฟฟ้าเป็นตัวล็อคอัพในการตัดต่อกำลัง รองรับเชื้อเพลิงได้ถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 น้ำหนัก 1,642 กิโลกรัม 

โดยระบบเกียร์แบบนี้จะมีคลัตช์ 2 ชุด ซึ่งจะแตกต่างกับระบบ Dual Clutch คือ แกนของเพลากำลังในคลัตช์ชุดแรกจะมีเฟืองเกียร์ 1-2-3-4 ส่วนชุดคลัตช์ที่ 2 จะเป็นการทำงานของเกียร์ 5 และ 6 ซึ่งการทำงานจะให้ความรู้สึกเหมือนการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ในระบบอัตโนมัติทั่วไปไม่แตกต่าง ดังนั้นอาจมีการรอจังหวะเกียร์บ้างในช่วงเปลี่ยนเกียร์ลงมาจาก 4 ไป 3 หรือ 2 เพราะต้องรอเปลี่ยนตามลำดับขั้น แต่ก็ไม่เกิน 2 วินาทีเท่านั้น

MG GS 1.5 ลิตร เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ 1.5 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ไดเรคอินเจคชั่น TGI-TECH 167 แรงม้า ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร ที่ 1,700-4,400 รอบ/นาที เกียร์อัตโนมัติ TST 7 จังหวะ รองรับเชื้อเพลิง E85 น้ำหนัก  1,460 กิโลกรัม 
ช่วงล่างพื้นฐานเดียวกันทั้ง 2 รุ่นคือ ด้านหน้าแม็กเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังมัลติลิงค์ และดิสก์เบรก 4 ล้อ แต่มีการปรับค่าความแข็ง-อ่อน ในจุดต่างๆ เพื่อรองรับสมรรถนะที่แตกต่างกัน 
ความปลอดภัย 

ความปลอดภัยมาตรฐานที่มีให้ทั้ง 2 รุ่น แตกต่างกันบ้างในบางฟังก์ชั่นนั่นคือ
  • ถุงลมนิรภัยคู่หน้า และในรุ่น 2.0 ลิตร เพิ่มถุงลมด้านข้าง
  • ระบบช่วยการออกตัวบนทางลาดชัน (HAS - Hill Start Assist System)
  • ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล (TCS - Traction Control System)
  • ระบบป้องกันล้อล็อกขณะเบรกฉุกเฉิน (ABS - Anti-lock Braking System)
  • ระบบช่วยกระจายแรงเบรก (EBD - Electronic Brake Force Distribution)
  • ระบบป้องกันการลื่นไถลเมื่อเกียร์ลดต่ำอย่างฉับพลัน (MSR - Motor control Slide Retainer)
  • ระบบควบคุมการเบรกขณะเข้าโค้ง (CBC - Curve Brake Control)
  • ระบบตรวจสอบความผิดปกติของลมยาง (ITPMS - Indirect Tire Pressure Monitor System) - เฉพาะรุ่น 2.0 ลิตร
  • ระบบเสริมแรงเบรกอิเล็กทรอนิกส์ (EBA - Electronic Brake Assist)
  • ระบบควบคุมการทรงตัว (SCS - Stability Control System)
  • ระบบป้องกันการไหลของรถโดยไม่ต้องเหยียบเบรกค้าง (AVH - Auto Vehicle Hold)
  • ระบบเพิ่มแรงดันไฮดรอลิกเบรกให้เหมาะสม (OHBV - Optimized Hydraulic Brake Servo)
  • ระบบทำความสะอาดจานเบรกอัจฉริยะ (BDC - Intelligent Brake Disc Cleaning)
  • ระบบป้องกันการลื่นไถล เมื่อเกียร์ลดต่ำอย่างฉับพลัน (MSR - Motor Control Slide Retainer)
  • ระบบเบรกมือไฟฟ้า (EPB - Electronic Parking Brake)
การทดลองขับ

สำหรับในการทดลองขับทริปนี้ มีทีมงานเช็คราคา.คอม 2 คน สับเปลี่ยนกันขับทั้ง 2 รุ่น เพื่อหาข้อแตกต่างทั้งด้านสมรรถนะ ความประหยัด และความปลอดภัย รวมถึงความสะดวกสบายในการใช้งาน 
MG GS 2.0 Turbo และ MG GS 1.5 Turbo

"ชลัคร ช่วยชู" ผู้ทดสอบคนที่ 1 
เริ่มขับรุ่น 2.0 เทอร์โบ AWD ตัวท็อปก่อน โดยลองขับทั้งในเมืองและเดินทางไกลต่างจังหวัด จากนั้นจึงไปขับรุ่น 1.5 เทอร์โบ ขับเคลื่อนล้อหน้า พอสรุปได้ว่า ตัวรถทั้ง 2 รุ่นที่มีตัวถังเหมือนกันต่างกันที่เครื่องยนต์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกบางรายการ ต่างให้มุมมองที่ดี ด้วยความสูงของตัวถังที่พร้อมข้ามอุปสรรคทั่วไปสบายๆ ก็ทำให้ไม่พะวงเวลาขับผ่านถนนที่เป็นหลุมหรือเนินมากนัก การขึ้นลงก็สะดวก แต่ถ้าสูงไม่เกิน 170 ซม. อาจต้องก้าวยาวขึ้น แต่เมื่อขึ้นมานั่งแล้วตำแหน่งเบาะให้ความมั่นใจในการขับด้วยมุมมองที่กว้าง

เมื่อขับในเมืองช่วงการจราจรติดขัดตัวรถให้การออกตัวที่ดีและลื่นไหลมากกว่ารุ่น 1.5 เทอร์โบ แต่ผู้เขียนรู้สึกว่ารุ่น 1.5 มีความคล่องตัวในการบังคับเลี้ยวมากกว่า แต่ช่วงที่ใช้ความเร็วต่ำต่อเนื่องระบบเกียร์ของรุ่น 1.5 ตอบสนองได้ไม่ราบเรียบเท่าไหร่ ด้านระบบเบรกพบว่าทั้ง 2 รุ่น ต้องให้น้ำหนักกดแป้นเบรกมากกว่าทั่วไป แต่ก็หยุดอยู่ในระยะที่ควบคุมได้

ด้านระบบกันสะเทือน ช่วงล่างของรุ่น 2.0 ค่อนข้างแข็ง ส่วนหนึ่งด้วยขนาดล้อที่ใหญ่กว่า และยางแก้มเตี้ยกว่าด้วย จุดนี้ผู้เขียนคิดว่ารุ่น 1.5 ให้ความสบายกว่า โดยเฉพาะขับด้วยความเร็วปานกลาง-สูงแล้วผ่านถนนเป็นลอนคลื่น แต่ในส่วนของอัตราเร่งและการทำความเร็วรุ่น 2.0 ย่อมไปได้ดีกว่า มั่นใจเวลาเร่งแซงรถช้าเลนสวน

อย่างไรก็ตามรุ่น 1.5 ก็ให้ความแรงที่เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปอยู่แล้ว และในช่วงเดินทางกลับผู้เขียนขับรุ่น 1.5 เทอร์โบ ขึ้นบนทางยกระดับจากชลบุรีสู่บางนา รู้สึกประทับใจกับการทรงตัวและมั่นคงต่อการปะทะกระแสลม และขับถึงปลายทางโดยไม่เมื่อยล้าเหมือนกับขับรถซีดาน นับเป็นเอสยูวีที่ตอบสนองการใช้งานทั่วไปได้อย่างน่าพอใจ สำหรับรุ่นเริ่มต้น 1.5 เทอร์โบที่ราคาต่างกับตัวท็อปอยู่ 4 แสน ก็นับเป็นความคุ้มค่าสำหรับใครที่มองหาเอสยูวีขนาดกลางที่ราคาไม่แพง โดยไม่เน้นความแรงกับระบบขับเคลื่อน AWD 

"สินธนุ จำปีศรี" ผู้ทดสอบคนที่ 2 
เมื่อดูจากรูปร่างทั้งภายนอก-ภายในของทั้ง 2 รุ่นนับว่าแตกต่างกันไม่มาก อาจไม่มีผลมากนักต่อสมรรนถะการขับขี่ แต่ทางด้านสมรรถนะเครื่องยนต์นั้น ให้ความรู้สึกแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ในรุ่น 2.0 ลิตร การออกตัวไปจนถึงเร่งแซงทำอัตราเร่งได้ดีกว่ามาก และในรอบต่ำหรือความเร็วต่ำๆ ไม่ค่อยมีอาการของเกียร์สะดุดกระตุกให้รู้สึกมากนัก ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะกำลังที่มีมาก ทำให้ช่วงรอบต่ำมีกำลังที่จะไหลออกตัวได้สบายๆ 

กำลังของเครื่องยนต์ที่แตกต่างกันจากรุ่น 2.0 และ 1.5 ลิตร ขึ้นอยู่กับความชอบและจุดประสงค์การใช้งาน หากผู้ที่ไม่เน้นอัตราเร่งหนักหน่วง และต้องการประหยัดน้ำมัน ใช้งานในเขตตัวเมืองเป็นประจำรุ่น 1.5 ลิตร ให้ความประหยัดที่เหลือเชื่อ เพราะในวันทดสอบนั้นใช้ระยะทางจากกรุงเทพฯ - สัตหีบและขับวนไปมาในเขตตัวเมืองพัทยาอีก 1 วันเต็มๆ ระดับน้ำมันลดลงเพียงครึ่งถังเท่านั้น และแม้ว่าขนาดเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร แต่เมื่อมีเทอร์โบมาช่วยเพิ่มพลังก็สามารถสร้างอัตราเร่งได้ดีไม่แตกต่างจากรุ่น 2.0 มากนัก อาจมีอาการรอรอบอยู่บ้างเล็กน้อยก่อนที่เทอร์โบจะเริ่มทำงานในช่วงรอบเครื่องยนต์ราวๆ 2,300 - 2,500 รอบ/นาที จะเริ่มมีแรงดึงอย่างต่อเนื่องและแซงได้อย่างทันใจพอสมควรครับ

ส่วนในรุ่น 2.0 ลิตร น่าจะเหมาะกับผู้ชอบอัตราเร่งที่จัดจ้าน ความแรงในช่วงแซง และอาจเน้นการเดินทางต่างจังหวัดหรือขึ้นเขาลงห้วยบ่อยๆ รุ่นนี้น่าจะเหมาะสมมากกว่า แต่ก็ต้องแลกกับอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันที่ "ซดอย่างดุดัน" ตามกำลังเครื่องยนต์ที่ปล่อยออกมา 

MG 2.0 Turbo และ 1.5 Turbo ให้ความสะดวกสบายที่ใกล้เคียงกันทั้งระบบเครื่องยนต์ที่เชื่อมต่อสารพัดการสื่อสาร พร้อมรองรับ Apple Carplay และเนวิเกเตอร์ กล้องแสดงภาพด้านหลัง โดยทั้ง 2 รุ่นที่เป็นท็อปทั้งคู่นั้นมีหลังคาซันรูฟมาให้ด้วย 
สรุปโดยรวมว่ารุ่น 1.5 ลิตร เทอร์โบ เน้นการใช้งานในเมืองหรือการขับขี่แบบเรื่อยๆ ไม่ดุดันมากนัก ให้ความประหยัดระดับเกินคาด และยังพอมีพละกำลังในการทำอัตราเร่งที่ดีระดับหนึ่ง
ส่วนรุ่น 2.0 เทอร์โบ ย่อมให้ความมันตามสไตล์เครื่องยนต์ใหญ่กำลังเยอะ เหมาะกับผู้ที่เท้าหนัก ต้องการอัตราเร่งที่มาอย่างรวดเร็วและขับสนุก ซึ่งอาจไม่มองในเรื่องอัตรากินน้ำมันมากนัก 
ความคุ้มค่าเทียบกับราคา

รถยนต์ MG GS SUV ที่เน้นความสปอร์ตจากสมรรถนะที่โดดเด่นกว่าใครในกลุ่มเครื่องยนต์เบนซินด้วยกัน ให้ความอเนกประสงค์ กว้างขวาง และพร้อมลุยได้ทุกสภาพถนน หากยอมรับระบบการทำงานของคลัตช์ TST-Twin Clutch Sportronic Transmission ได้และเข้าใจการทำงานจนคุ้นเคย MG GS ก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ต้องทดลองขับดูก่อน แล้วจะรู้ว่าระบบเกียร์แบบซูเปอร์คาร์เป็นอย่างไร

นอกจากนี้ผู้สนใจสามารถทดสอบขับรถยนต์ เอ็มจี เพื่อให้คุ้มเคยและสัมผัสสมรรถนะได้ก่อนตัดสินใจซื้อได้ที่ MG Driving Experience Centre ถนนศรีนครินทร์ ทุกวันทร์ 8.00 - 17.00 น. โทร.095-368-8600   
แท็กที่เกี่ยวข้อง mg gs เอ็มจี จีเอส รีวิวรถ mg gs1.5 mg gs 2.0
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)