ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

Auto Brake Hold ใช้งานอย่างไร?

icon 28 มิ.ย. 60 icon 45,995
Auto Brake Hold ใช้งานอย่างไร?

Auto Brake Hold ใช้งานอย่างไร?

รถยนต์ในปัจจุบันมีระบบต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือหรือเสริมให้การขับขี่สะดวกสบายและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นหลายแบบ ซึ่งระยะหลังเราจะเริ่มเห็นหรือได้ยินระบบ "Auto Brake Hold หรือระบบเบรกชั่วคราว" กันมากขึ้น จากผู้ผลิตรถยนต์หลายยี่ห้อซึ่งเริ่มติดตั้งกันมาจนเกือบจะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานไปแล้วสำหรับรถบางรุ่น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบ Auto Brake Hold กันครับ
Auto Brake Hold คืออะไร?
อธิบายง่ายๆ ก็คือ ระบบเบรกมือแบบทำงานโดยอัตโนมัติด้วยไฟฟ้า เช่น หากเปิดระบบใช้งานเอาไว้ เมื่อต้องการจอดรถชั่วคราวหรือจอดขณะติดสัญญาณไฟแดง ผู้ขับขี่เพียงแค่หยุดรถให้สนิทหลังจากนั้นระบบเบรกนี้ (Auto Brake Hold) ก็จะทำงานโดยการเบรกให้โดยที่ผู้ขับไม่ต้องค้างเท้าเอาไว้ที่แป้นเบรก แม้จะเข้าเกียร์ในตำแหน่งเดินหน้าหรือไม่ก็ตาม เปรียบเสมือน "การดึงเบรกมือ" เวลาจอดกันรถไหลเอาไว้นั่นเอง และเมื่อต้องการเคลื่อนที่ไปก็เพียงเหยียบคันเร่งเท่านั้น ระบบก็จะปล่อยเบรกทันที

สัญลักษณ์ P หรือ "Parking" คือ เบรกมือสำหรับจอดนานๆ ส่วน Auto Brake Hold คือ จอดชั่วคราวนะครับ
การใช้งาน Auto Brake Hold
การใช้งานนั้นง่ายมากๆ เพียงแค่กดสวิตช์เปิดใช้งาน ไฟแสดงสถานะบนสวิตช์และบนหน้าปัดจะติดขึ้น เป็นอันเสร็จระบบก็พร้อมทำงาน 
เมื่อขับรถมาเรื่อยๆ และต้องการหยุดรถหรือจอดรอสัญญาณไฟ ระบบนี้ก็จะเริ่มทำงานเมื่อรถจอดสนิท จะสังเกตว่าเมื่อปล่อยเบรก รถจะถูกเบรกค้างเอาไว้โดยอัตโนมัติแม้ปล่อยเบรก หากต้องการเคลื่อนที่หรือออกรถก็เพียงเหยียบคันเร่ง รถก็จะเดินหน้าและระบบจะปลดเบรกให้ทันที
ระบบนี้จะทำงานตลอดแม้ว่าผู้ขับขี่จะเข้าตำแหน่งเกียร์ว่าง (N) นั่นคือ หากเข้าตำแหน่ง D เอาไว้ แม้จะจอดพื้นที่ต่างระดับรถก็จะไม่ไหล และเมื่อเข้าตำแหน่งเกียร์เดินหน้า ก็ไม่จำเป็นต้องเหยียบเบรก เพียงแค่เหยียบคันเร่งเช่นกัน และระบบจะตัดการทำงานก็ต่อเมื่อกดสวิตช์ปิดระบบหรือเมื่อดับเครื่องยนต์และสตาร์ตใหม่

รุ่นนี้ระบบ Auto Brake Hold ใช้สัญลักษณ์ "A"
ข้อควรระวังในการใช้งานระบบ Auto Brake Hold 
ข้อควรระวังในการใช้ระบบนี้คือ เมื่อจอดรถสนิทและระบบเปิดใช้งานอยู่ ควรระมัดระวังอย่าเผลอเร่งเครื่องยนต์หรือเหยียบคันเร่งโดยไม่ตั้งใจ เพราะรถจะพุ่งตัวไปทันที ต้องดูให้แน่ใจว่าไฟแสดงการทำงานระบบ Auto Brake Hold นี้ติดอยู่หรือไม่
เมื่อใช้งานระบบ Auto Brake Hold นี้ หากเจอการจราจรแบบไหลๆ หยุดๆ อาจส่งผลให้เกิดการขับขี่ที่กระชากและไม่นุ่มนวลนัก เพราะโดยปกติระบบเกียร์อัตโนมัติต้องเหยียบเบรกก่อนเข้าเกียร์เดินหน้าและปล่อยเบรก รถจะค่อยๆ เคลื่อนที่ออกไป แต่ถ้าใช้งานระบบ Auto Brake Hold อยู่นั้นรถจะไม่ไหล ผู้ขับขี่ต้องเหยียบคันเร่งเพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปตามจังหวะการจราจร ซึ่งอาจเกิดความรำคาญหรืออาจเกิดความไม่สะดวกในการขับขี่ลักษณะแบบนี้    

ระบบ Auto Brake Hold แตกต่างกับเบรกมือไฟฟ้าอย่างไร?
ในรถยนต์ที่ติดตัังระบบ Auto Brake Hold นั้น ส่วนมากมักมีระบบเบรกมือไฟฟ้ามาด้วย เพราะใช้อุปกรณ์การทำงานชุดเดียวกัน การทำงานคล้ายกันแตกต่างเพียงแค่ระบบเบรกมือไฟฟ้านั้น เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อเราถึงที่หมาย จอดรถเป็นเวลานานๆ และเมื่อต้องการขับต่อไปจะต้องปลดระบบนี้ออกด้วย ไม่เช่นนั้นระบบเบรกจะเสียหายได้
วิธีการใช้งานง่ายๆ ของระบบ Auto Brake Hold หรือระบบเบรกชั่วคราว ที่ติดตั้งในรถรุ่นใหม่บางรุ่น แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือการขับขี่ให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็จำเป็นต้องศึกษาหลักการทำงานให้ถูกต้องด้วยครับ   
แท็กที่เกี่ยวข้อง auto brake hold ระบบเบรก เบรก ระบบเบรกชั่วคราว
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)