ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

4 ขั้นตอนง่ายๆ เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม

icon 31 พ.ค. 60 icon 6,922
4 ขั้นตอนง่ายๆ เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม

4 ขั้นตอนง่ายๆ เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม

ไม่ต้องกลัว! เมื่อจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วม รถยนต์ทุกคันสามารถลุยน้ำได้ในระดับที่ไม่สูงนัก หรือในระดับที่ไม่เกินครึ่งล้อรถโดยประมาณ โดยที่เครื่องยนต์ไม่ดับ เพราะท่อดักอากาศเข้ารถยนต์ส่วนมากมักอยู่สูงระดับฝากระโปรง และท่อไอเสียมีแรงดันจากเครื่องยนต์คอยดันออกตลอดเวลา แต่ถึงอย่างนั้น การขับรถลุยน้ำก็มีวิธีปฎิบัติเล็กๆ น้อยๆ มาดู 4 ขั้นตอนง่ายๆ ที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้องเมื่อต้องขับลุยน้ำกันครับ     

1.ประเมินระดับน้ำ

การประเมินระดับความลึกให้สังเกตว่าสูงกว่าระดับสิ่งปลูกสร้างข้างเคียงแค่ไหน เช่น ฟุตบาท, ล้อรถยนต์ที่จอดหรือสวนทางมา, ระดับกันชนรถยนต์คันอื่นๆ เป็นต้น หากต่ำกว่าครึ่งล้อลงไปนั้น รถยนต์สามารถลุยได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ ไม่ส่งผลต่อรถยนต์มากนัก และถ้าเป็นไปได้ ให้ขับเลี่ยงไปฝั่งที่ระดับน้ำตื้นที่สุดจะดีกว่าครับ

ภาพจาก Facebook คุณ Mno Chosuwan

2. ปิดแอร์

หากดูแล้วจำเป็นต้องขับรถผ่านระดับน้ำที่ลึกมาก หรือสูงกว่าระดับครึ่งล้อรถขึ้นไป แนะนำว่าควรปิดแอร์ เพื่อไม่ให้ระบบระบายความร้อนหรือพัดลมไฟฟ้าหมุน เพราะอาจตีน้ำกระเด็นถูกชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ทำให้เกิดความชื้น และเครื่องยนต์อาจดับได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้ใบของพัดลมไฟฟ้าเสียหายจากการหมุนตีกับน้ำอย่างรุนแรง  

3. ใช้ความเร็วต่ำและคงที่

เมื่อถึงจุดต้องลุยน้ำ ควรใช้ความเร็วต่ำจนเกือบจะเดินเบา หรือปล่อยให้เครื่องยนต์ไหลไปเองโดยที่ค่อยๆ เดินคันเร่งช้าๆ และให้ความเร็วอยู่ในระดับคงที่มากที่สุด การช่วยเร่งก็เพื่อให้มีแรงดันไอเสียออกที่ท่อไอเสีย ป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าปลายท่อ การใช้ความเร็วต่ำๆ และคงที่ช่วยให้น้ำไม่กระเด็นขึ้นมาถูกชิ้นส่วนสำคัญภายในห้องเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ความร้อนเครื่องยนต์ไม่สูงเกินไป ซึ่งลดการทำงานพัดลมไฟฟ้าของเครื่องยนต์ และช่วยป้องกันพัดลมไฟฟ้าตีน้ำกระเด็นถูกเครื่องยนต์และป้องกันใบพัดเสียหายได้อีกทางด้วย 

ภาพจาก Facebook - Rati panthong

4. เหยียบเบรกเบาๆ หลังลุย

เมื่อผ่านพ้นวิกฤติการลุยน้ำแล้ว ให้แตะเบรกเบาๆ พอรู้สึกว่าว่ารถเริ่มหน่วงๆ และปล่อยเป็นระยะสัก 5 - 10 ครั้ง เพื่อไล่ความชื้นและคราบน้ำออกจากระบบดิสก์หรือดรัมเบรก เพื่อให้ระบบเบรกกลับสู่สภาพปกติ

สิ่งสำคัญที่ต้องระวังเมื่อลุยน้ำไม่ควรใช้ความเร็วสูงและเบรกอย่างรุนแรง เพราะจานเบรกเพิ่งถูกน้ำอุณหภูมิต่ำๆ เมื่อเบรกแรงๆ จะทำให้เกิดความร้อนสะสมอย่างรวดเร็ว จานเบรกอาจ "คด" ได้ และถ้าเป็นแบบนั้น งานเข้าแน่ๆ อาจต้องเปลี่ยนแผ่นจานเบรกใหม่ เสียค่าใช้จ่ายสูงอีกด้วย

การลุยน้ำนอกจากจะต้องระมัดระวังรถยนต์ที่เราขับให้ลุยได้อย่างปลอดภัยแล้ว อีกสิ่งทีควรคำนึงถึงนั่นคือ รถยนต์คันอื่นๆ ที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ผู้ขับควรใช้ความเร็วที่เหมาะสม สม่ำเสมอ เว้นระยะคันรถทั้งหน้าและหลังให้มากๆ โดยเฉพาะรถยนต์หรือรถกระบะที่มีระดับสูงๆ ก็ควรลุยน้ำกันเบาๆ เอื้อเฟื้อแก่รถยนต์คันที่เตี้ยกว่า จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น รวมถึงมีน้ำใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน รถคันที่มีประสิทธิภาพในการลุยได้ดีกว่าก็ควรลดความเร็วหรือเบี่ยงหลบให้รถที่เตี้ยกว่าผ่านไปได้อย่างสะดวก "ฝนตกหนักเท่าไหร่... ไม่สำคัญเท่าน้ำใจบนท้องถนน" 
แท็กที่เกี่ยวข้อง น้ำท่วม ขับรถลุยน้ำ ขับรถลุยน้ำท่วม
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)