ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เคล็ดไม่ลับ ขับขี่ปลอดภัยในช่วงสงกรานต์

icon 7 เม.ย. 60 icon 8,348
เคล็ดไม่ลับ ขับขี่ปลอดภัยในช่วงสงกรานต์

เคล็ดไม่ลับ ขับขี่ปลอดภัยในช่วงสงกรานต์

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยยังคงครองแชมป์สถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อ้างอิงจากข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ นับตั้งแต่ต้นปี 2560 เป็นต้นมา จนถึง ณ วันที่ 7 เม.ย. 2560 ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุได้ทำการรวบรวมสถิติไว้ พบว่ามีความสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากถึง 4,006 ราย และมีผู้บาดเจ็บที่มากถึง 272,936 คน ซึ่งนับเป็นการสูญเสียอันประเมินค่ามิได้ของประเทศชาติ
เนื่องในช่วง "เทศกาลสงกรานต์" ผู้คนที่ทำงานอยู่ในหัวเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร จะเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยว ซึ่งพาหนะในการเดินทางที่นิยมที่สุดคงหนีไม่พ้น การเดินทางด้วยรถยนต์ เช็คราคา.คอม จึงขอนำเสนอบทความ "เคล็ดไม่ลับ ขับขี่ปลอดภัยในช่วงสงกรานต์" เพื่อให้ผู้ขับได้ตรวจเช็คและเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง โดยมีหัวข้อดังนี้

1. เตรียมรถยนต์ให้พร้อม


เริ่มต้นการเดินทางด้วยการตรวจสอบสภาพตัวรถอย่างละเอียดทุกด้าน หากเป็นไปได้ควรใช้เวลาตรวจสอบ 1 อาทิตย์ ก่อนการเดินทาง ตรวจเช็คระดับของเหลวต่างๆ เช่น ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำ ระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์ น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ และระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ เป็นต้น พร้อมสตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดไฟส่องสว่าง ฟังเสียงการทำงานของเครื่องยนต์ว่าปกติไหม เดินเรียบไหม มีเสียงกุกๆ กักๆ อะไรหรือเปล่า ส่วนระบบไฟหน้าไฟเลี้ยวและไฟท้ายควรติดครบทุกดวง หลังจากนั้นให้สังเกตดูที่พื้นว่ามีคราบน้ำมันหยด คราบน้ำหยด (ที่ไม่ใช่น้ำแอร์) ลงพื้นหรือไม่ รวมไปถึงระดับของลมยาง สภาพยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่พร้อมเครื่องมือประจำรถ ถ้ามีสิ่งใดผิดปกติหรือขาดตกไป ก็รีบดำเนินการแก้ไขเสีย

2. คาดเข็ดขัดนิรภัย


เพื่อความปลอดภัยทุกคนควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งก่อนออกรถ ไม่ว่าจะเบาะหน้าและเบาะหลังก็ตาม หากมีเด็กไปด้วยก็ควรมี Child Seat เพื่อความปลอดภัยอีกขั้น การคาดเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง

3. วางแผนการเดินทาง


ควรศึกษาเส้นทางก่อนการเดินทาง เพื่อเลี่ยงปัญหาจราจรติดขัด หลีกเลี่ยงการขับขี่ระหว่างเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า และระหว่าง 14.00-16.00 น. เพราะความตื่นตัว และสมาธิอาจลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว นักวิจัยยังระบุด้วยว่าจำนวนอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น 2-6 เท่า ในช่วงเวลาดังกล่าว และไม่ควรละสายตาจากถนนไปจ้องมอง GPS หรือโทรศัพท์มือถือมากนัก เนื่องจากจะทำให้เสียสมาธิเวลาขับรถ วิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ Apple CarPlay ที่มาพร้อมฟังก์ชั่น Siri Eyes Free ที่ช่วยให้ไม่ต้องละสายตาจากท้องถนน มองบนถนนตลอดเวลาและใช้สองมือจับพวงมาลัย

4. รักษาระยะห่างจากรถคันหน้า


การรักษาระยะห่างระหว่างรถของคุณกับรถคันหน้าอย่างเหมาะสม อย่างน้อย 2 จุด ทำให้มีระยะเวลาตัดสินใจต่อการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นข้างหน้า คุณควรที่จะควบคุมรถให้อยู่ในช่องจราจรของคุณตลอดเวลา อย่าขับเป๋ไปเป๋มา

5. มีกล้องติดรถยนต์


ยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า กล้องบันทึกภาพติดรถยนต์ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับรถยนต์ไปแล้ว สำหรับบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ขณะขับขี่ และยังเป็นพยานสำคัญได้อีกด้วย ซึ่งราคาของกล้อง DVR ก็ต้ั้งแต่หลักไม่กี่ร้อยบาท ไปจนถึงราคาหลายพันบาท ตามคุณภาพ ทั้งแบบมีและไม่มี GPS
6. รักษาความเร็วตามกฎหมายจราจร
รักษาความเร็วตามกฎหมายจราจร ประโยชน์ที่ได้จากการขับขี่ด้วยความเร็วสูง มันไม่คุ้มเลยกับอันตรายและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจได้ใบสั่งไปสะสมด้วย
7. ไม่ดื่มแล้วขับ

การขับขี่ขณะเมาสุราทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต (ทั้งแก่ตัวเราเองและผู้อื่น) ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่าเมาแล้วขับ ถือว่ามีความผิด ปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต หากเกิดอุบัติเหตุแล้วตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ได้เกิน 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันภัยยังสามารถปฏิเสธความคุ้มครองได้
8. พักผ่อนให้เพียงพอ

ไม่ควรขับรถเมื่อรู้สึกง่วงหรือเหนื่อย ความเหนื่อยล้าจะลดประสิทธิภาพของผู้ขับขี่ อันนี้สำคัญที่สุด แนะนำว่าให้นอนหลับพักผ่อนให้เต็มอิ่ม สัก 6-8 ชั่วโมง ซึ่งกำลังดีก่อนการเดินทาง รวมถึงไม่ควรทานยาที่ทำให้ง่วงก่อนการขับขี่ และไม่ควรทานอาหารให้อิ่มเกินไปก่อนออกเดินทาง ควรจอดรถเพื่อพักทั้งคนทั้งรถในสถานที่ปลอดภัย ไม่ควรทิ้งเด็กไว้ในรถแม้จะลดกระจกหน้าต่างลงก็ตามเพื่อป้องกันโรคลมแดดจากความร้อนในรถที่สูงเกินไป โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนเช่นนี้
รวบรวมเบอร์โทรฉุกเฉิน สำหรับเวลาเดินทางไกล
หน่วยงาน หมายเลขโทรศัพท์ 
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก 1584
สายด่วน กรมทางหลวง 1586
ตำรวจทางหลวง 1193
ตำรวจท่องเที่ยว 1195
ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 1155
ศูนย์นเรนทร (แจ้งป่วยฉุกเฉิน) 1669 หรือ 02-354-8222
หน่วยแพทย์กู้ชีวิต กทม. 1554
ศูนย์วิทยุกรุงธน 02-451-7228
ศูนย์วิทยุรามา 02-354-6999
ศูนย์วิทยุปอเต็กตึ๊ง 24 ชม. 02-226-4444-8
อุบัติเหตุทางน้ำ กองบังคับการตำรวจ 1196
จส.100 1137
สถานีจราจรเพื่อสังคม FM 99.5 1255
สวพ.91 1644
ร่วมด้วยช่วยกัน FM 102.75 1677
ศูนย์ควบคุมการจราจร 1197
สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ทั่วประเทศ 1133
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  02-132-1888 , 02-132-5140
การบินไทย 1566 หรือ 02-356-1111
สอบถามข้อมูลเที่ยวบิน 02-132-0000
- ระหว่างประเทศ 02-134-5453-6 (24 ชม.)
- ในประเทศ 02-134-5473-4
นกแอร์ 1318 หรือ 02-628-2000
สถานีขนส่ง  
- สายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) 02-936-2852-66 ต่อ 611
- สายเหนือ (หมอชิต 2) 02-936-2852-66 ต่อ 311
- สายใต้ (ตลิ่งชัน) 02-434-7192, 02-435-1195-6
- สายตะวันออก (เอกมัย) 02-391-8097, 02-391-2504
การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
สถานีรถไฟกรุงเทพ 02-223-3777
ไฟฟ้าขัดข้อง 1130
น้ำประปาขัดข้อง 1125
สอบถามสภาพจราจร 1543
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192
แท็กที่เกี่ยวข้อง สงกรานต์ การขับรถ ขับขี่ปลอดภัย
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)