ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

เลือกน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไหน ให้เหมาะกับรถคุณ

icon 21 ก.พ. 60 icon 147,072
เลือกน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไหน ให้เหมาะกับรถคุณ

เลือกน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไหน ให้เหมาะกับรถคุณ

เคยสงสัยหรือไม่ว่า รถยนต์ที่คุณใช้ควรเติมน้ำมันอะไรให้เหมาะสมหรือว่าดีที่สุดต่อรถของเรา โดยปกติตรงฝาถังน้ำมันของรถจะมีป้ายสติกเกอร์บอกเอาไว้ว่า ควรเติมน้ำมันอะไรที่เหมาะสมกับรถมากที่สุด แต่หลายๆ คนคงเคยสงสัยว่า แล้วรถเราเติมน้ำมันชนิดอื่นได้ไหม ค่าออกเทนสูงกว่าได้หรือเปล่า วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ
ก่อนอื่น มาดูที่เรื่องชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงกันก่อน โดยทั่วไปชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เบนซิน (Gasoline) และ ดีเซล (Diesel) โดยแยกออกไปตามแต่ละชนิดได้อีกดังนี้

น้ำมันเบนซิน (Gasoline) มีค่าออกเทนตั้งแต่ 91, 95 และชนิดที่นำไปผสมเอทานอลกลายเป็น Gasohol มีค่าออกเทน 91, 95, E20 และ E85 ตามสัดส่วนของเอทานอลที่ผสมลงในน้ำมันเบนซิน 

น้ำมันดีเซล (Diesel) ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทั้งแบบปั๊มไฟฟ้า ปั้มสาย เครื่องยนต์รุ่นเก่าแบบ Pre-combustion หรือ Direct injection จนถึง Common Rail ล้วนใช้น้ำมันดีเซลเหมือนกัน ซึ่งอาจมีแบ่งเกรดย่อยออกไปอีกตามสูตรการผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ ของบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน เช่น PTT HyForce Series 2 เติมแต่งพิเศษ Hy-Booster และ Cleansing Force, คาลเท็กซ์ดีเซล เทครอนดี คิดค้นให้หัวฉีดที่สะอาดขึ้น ประหยัดน้ำมันได้ดียิ่งขึ้น, เชลล์ วี-เพาเวอร์ ดีเซล ออกแบบมาเพื่อสร้างฟิล์มปกป้องพื้นผิวโลหะ ช่วยป้องกันการสึกหรอในชิ้นส่วนที่สำคัญ หรือ บางจากเพาเวอร์ดี เพิ่มสาร Super Clean และ Super Power เป็นต้น 
นอกจากนี้ยังมีการนำมาผสมกับไบโอดีเซลเพื่อลดมลพิษให้ได้ค่าต่ำสุดตามมาตรฐาน EURO4 ไบโอดีเซลคือ เชื้อเพลิงทดแทนประเภทดีเซลจากธรรมชาติ โดยการนำเอาน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทไตรกลีเซอไรด์ มาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเตอริฟิเคชัน (Transesterifcation) โดยทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ (EthanolหรือMethanol) และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) จะได้ผลิตผลเป็นเอสเตอร์ (Ester) และผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งเราจะเรียกชนิดของไบโอดีเซลแบบเอสเตอร์นี้ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ไบโอดีเซลชนิดเอสเตอร์นี้มี คุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด เพราะไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ (อ้างอิงโดย www.biodiesel.eng.psu.ac.th
น้ำมันไบโอดีเซลแบ่งออกเป็น B2 - ไบโอดีเซล 2 % ดีเซล 98 %, B5 - ไบโอดีเซล 5% ดีเซล 95 %, B20 - ไบโอดีเซล 20% ดีเซล 80%, B40 - ไบโอดีเซล 40 % ดีเซล 60% และ B100 - ไบโอดีเซล 100 %
สำหรับน้ำมันดีเซลนั้นสามารถเติมในรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิด แต่น้ำมันดีเซล B5 ไม่ค่อยได้รับความนิยม และปัจจุบันยกเลิกการจำหน่ายแล้ว 

ค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินแต่ละชนิดเติมกับรถอะไรได้บ้าง?
หลายคนคงสงสัยว่า ค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินแต่ละชนิดเติมกับรถอะไรได้บ้าง หากต้องการทดลอง หรือต้องการเติมออกเทนแบบอื่นๆ บ้างนั้น อันดับแรกเลย คือควรศึกษาในคู่มือรถ เช็คว่าเครื่องยนต์ของรถสามารถรองรับน้ำมันเบนซินได้ถึงระดับใดบ้าง เพราะหากเติมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคู่มือ อาจเกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อมในระยะยาวได้
หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ไม่ว่ารถคันนั้นจะใช้เครื่องยนต์ความจุเท่าไหร่ ให้ดูว่าผู้ผลิตกำหนดให้ใช้ตัวเลขออกเทนน้ำมันต่ำสุดที่เท่าใด ก็ควรเติมตัวเลขออกเทนให้สูงกว่าที่กำหนดไว้ และต้องดูว่ารองรับสูงสุดเท่าใด เพื่อไม่ให้เติมเกินกำหนดสูงสุด เช่น ที่ฝาถังหรือคู่มือระบุว่า 91 ขึ้นไป โดยไม่รุบถึง E20, E85 หมายถึง เติมได้ตั้งแต่ออกเทน 91, 95 หรือ Gasohol 91, 95 โดยไม่รองรับ E20 และ E85 เป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงนั้นให้เติมตามระบุเอาไว้นับว่าเป็นมาตรฐานที่ดีที่สุด 
หากเติมผิดออกเทนมีผลอย่างไร? 
หากเติมผิดออกเทน แต่ยังคงอยู่ในประเภทน้ำมันเดียวกันอาจไม่ส่งผลมากมายนักถ้าเติมในปริมาณไม่มาก หรืออาจหยุดเติมน้ำมันที่ผิดและให้เติมน้ำมันที่ถูกต้องผสมลงไป เป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น เช่น รถไม่รองรับน้ำมัน E85 เมื่อทราบว่าเติมผิดให้รีบหยุดและรีบเติมชนิดน้ำมันให้ถูกต้องผสมลงไปทันทีเพื่อให้เจือจางมากที่สุด เป็นต้น 

สำหรับรถที่ไม่ระบุให้ใช้ E85 เมื่อเติมผิดชนิดน้ำมันเข้าไปแล้วให้รีบหยุดแล้วเติมชนิดที่ถูกต้องผสมลงไปเป็นเพื่อการแก้ไขเฉพาะหน้าเช่นกัน แต่ถ้าหากเติมเข้าไปเต็มระบบแล้วใช้งานไปบ้าง ให้รีบเข้าศูนย์บริการเพื่อถ่ายออก เพราะชิ้นส่วนในระบบการจ่ายน้ำมันที่สัมผัสโดยตรงกับน้ำมันชนิดนี้ (E85) อาจไม่ทนการกัดกร่อนมากพอ อาจทำให้เกิดความเสียหาย และส่งผลต่อเครื่องยนต์ได้

ส่วนการเติมน้ำมันผิดประเภทจากเครื่องยนต์เบนซินไปเติมน้ำมันดีเซล หรือเครื่องยนต์ดีเซลไปเติมน้ำมันเบนซิน สำหรับกรณีนี้ให้ดับเครื่องยนต์ทันที และเข้าศูนย์บริการเพื่อทำการถ่ายน้ำมันออกจากถังและล้างใหม่ รวมถึงการไล่ระบบท่อทางเดินน้ำมันทั้งหมดจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีน้ำมันที่ผิดประเภทหลงเหลือไว้ 
ค่าออกเทนมีผลอย่างไรต่อเครื่องยนต์? 
เครื่องยนต์แต่ละรุ่นถูกออกแบบให้ใช้น้ำมันชนิดที่กำหนดมาอย่างคุ้มค่าและประหยัดมากที่สุด โดยปกตินั้น น้ำมันที่มีค่าออกเทนสูง เช่น เบนซิน 95 มีค่าความร้อนที่สูงกว่าหรือการต้านทานการน็อคสูง หรือเรียกง่ายๆ ว่า มีอุณหภูมิในการจุดระเบิดเพื่อเผ้าไหม้สูงกว่าเบนซิน 91 ดังนั้น รถที่ระบุว่าให้ใช้เบนซิน 95 หากเติมเบนซิน 91 ลงไปเครื่องยนต์จะน็อคได้ ภาษาช่างเรียกว่า "เขก" ซึ่งเป็นการชิงจุดระเบิดก่อนที่หัวเทียนจะจุดประกายไฟออกมาเพื่อจุดระเบิดตามจังหวะจริงๆ หรือเป็นอาการที่ภายในกระบอกสูบมีการระเบิดเองก่อนการจุดระเบิดจากหัวเทียน จึงส่งผลให้ลูกสูบ วาล์ว และชิ้นส่วนที่ได้รับแรงระเบิดเสียหายได้ เพราะจังหวะที่ชิงจุดระเบิดก่อนมักเป็นช่วงที่ลูกสูบกำลังเลื่อนขึ้นด้านบน แต่แรงระเบิดกลับดันหรือต้านการเคลื่อนที่นั้น ทำให้สะดุดและมีเสียงดังผิดปกติ (เขก) นั่นเอง อาการจะคล้ายกับการตั้งองศาไฟจุดระเบิดแก่เกินไป
ในจังหวะจุดระเบิด ต้องใช้แรงดันจากการระเบิดผลักหัวลูกสูบให้เคลื่อนที่ลงด้านล่าง แต่การชิงจุดระเบิดนั้นเป็นจังหวะที่ลูกสูบกำลังเลื่อนขึ้นเพื่ออัดอากาศและเชื้อเพลิงให้แรงดัน กลับถูกประกายไฟจากเชื้อเพลิงจุดติดเองโดยไม่ถูกต้อง พยายามดันลูกสูบลงซึ่งสวนทางการเคลื่อนที่ของลูกสูบปกติ คิดดูว่าลูกสูบกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วกลับถูกแรงระเบิดอัดด้านบนในขณะที่ลูกสูบยังต้องเลื่อนขึ้นจนถึงศูนย์ตายบนเพื่อให้หัวเทียนจุดเบิดในจังหวะปกติ จะเห็นว่าแรงอัดที่ปะทะนั้นก่อให้เกิดการสึกหรอขั้นรุงแรง จะเห็นว่าการเติมน้ำมันออกเทนต่ำกว่ากำหนดไว้เกิดผลเสียอย่างชัดเจน 

เครื่องยนต์ทั่วไปแบบ 4 จังหวะ (คลิกรูปดูภาพเคลื่อนไหว)
ภาพจาก educypedia.karadimov.info

4 จังหวะได้แก่ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย
ภาพจาก www.extravital.net

เมื่อเกิดการชิงจุดระเบิดหรือ Knock
ภาพจาก bizna.co.ke
ส่วนการเติมน้ำมันที่มีออกเทนสูงกว่ากำหนดไว้นั้น โดยทั่วไปอาจไม่ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์โดยตรงมากนัก เช่น หากรถรองรับน้ำมันตั้งแต่ 91 ขึ้นไป หากเราเติม เบนซิน 95 ก็นับว่าสามารถใช้งานได้ เพราะค่าความร้อนในการติดไฟเบนซิน 95 สูงกว่า 91 อยู่แล้ว จึงไม่เกิดการชิงจุดระเบิด ในขณะเดียวกันอาจส่งผลดีขึ้นต่อการเผาไหม้ในกระบอกสูบในเครื่องยนต์บางรุ่นที่ต้องการปริมาณความร้อนสูงๆ อยู่แล้ว (แต่อาจถูกกำหนดโดยโรงงานผู้ผลิตให้ใช้น้ำมันออกเทนต่ำลงเพื่อลดมลพิษ, ผลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี ฯลฯ) เนื่องจากค่าความร้อนที่สูงกว่า จึงมีพลังงานระเบิดที่รุนแรงกว่า และออกเทนที่สูง ทำให้จำนวนในการฉีดน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้นั้น ในปริมาณที่น้อยกว่าก็สามารถจุดติดไฟได้พลังงานที่มากกว่า เช่น ใช้เพียง 0.1 ซีซี สามารถจุดระเบิดได้ หากเป็นน้ำมันออกเทนต่ำกว่าอาจใช้ 0.3 ซีซีในการจุดระเบิด 1 ครั้ง เป็นต้น  จึงช่วยให้ประหยัดและได้กำลังเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นและวิ่งได้ระยะทางที่มากขึ้นกว่าใช้เบนซิน 91 แต่การเผาไหม้ที่เกิดจากการใช้ออกเทนเกินจำเป็นก็ส่งผลให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เช่นกัน คิดง่ายๆ ว่า หากเรากินข้าว 1 ชามก็อิ่ม แต่เมื่อกินไป 4 ชาม เกินความต้องการส่วนที่เหลือก็จะเป็นไขมันสะสม เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ส่วนที่เกินไปอาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และผู้ผลิตรถยนต์มักโปรแกรมระบบฉีดน้ำมันให้สอดคล้องกับประเภทของน้ำมันมาเป็นอย่างดีแล้ว

ภาพจาก thechronicleherald.ca

ภาพจาก www.motorauthority.com
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเบนซินในบางช่วงแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันมาก หากใช้น้ำมันออกเทนที่สูงกว่าให้ลองคำนวณระยะทางที่วิ่งได้จริง และราคาของทั้ง 2 ชนิดเชื้อเพลิงดูว่า ใช้ชนิดไหน และอย่างไรจึงจะคุ้มกว่ากัน
ยกตัวอย่างง่ายๆ รถยนต์ความจุ 1.5 ลิตร ระบุให้ใช้เบนซิน 91 ต้องการเติมเบนซิน 95 จำนวน 200 บาท ได้น้ำมัน 5.65 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง 150 กิโลเมตร หากเติมเบนซิน 91 จำนวน 200 บาท ได้น้ำมัน 7.14 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง 120 กิโลเมตร หากมีส่วนต่างไม่มากก็นับว่าใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถเติมแบบใดก็ได้แต่ในความเป็นจริงนั้นการเติมออกเทน 95 จะมีส่วนที่เผาไหม้ไม่หมดเกินความจำเป็น ทำให้สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
หรืออีกตัวอย่างรถยนต์ความจุ 1.5 ลิตร ระบุให้ใช้เบนซินแก๊สโซฮอล์ E20 ต้องการเติมน้ำมันเบนซิน 91 จำนวน 200 บาท ได้น้ำมัน 7.14 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง 120 กิโลเมตร หากเติมเบนซิน E20 จำนวน 200 บาท ได้น้ำมัน 7.77 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง 100 บาท นับว่าแทบไม่ต่างกัน ซึ่งน้ำมันทั้ง 2 ชนิดนี้นับว่าสามารถใช้กันได้และไม่ค่อยมีผลมากนัก
(*ตัวอย่างนี้เป็นการสมมติโดยอ้างอิงราคาน้ำมัน ณ วันที่ 14 ก.พ.60)         
   
แก๊สโซฮอล์วิ่งได้น้อยกว่า?
น้ำมันประเภทที่มีเอทานอลผสมหรือที่เราเรียกกันว่าแก๊สโซฮอล์นั้น ผ่านกรรมวิธีการสกัดจากพืชให้กลายเป็นเอทานอล ย่อมมีการผสมอากาศเข้าไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับมีค่าความร้อนหรือพลังงานที่ต่ำกว่าจำพวกน้ำมันเบนซิน เมื่อนำมาผสมกับเบนซินกลายเป็นแก๊สโซฮอล์ จึงมีโอกาสที่น้ำมันนั้นอาจมีส่วนผสมของอากาศเจือปน และการสะสมความร้อนหรือพลังงานลดน้อยลงทำให้มีค่าพลังงานจากการเผาไหม้ลดลงตามไปด้วย เมื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงฉีดเข้าห้องเผาไหม้ ระบบ ECU จะถูกสั่งจ่ายและคำนวณอัตราส่วนผสมระหว่างอากาศ + น้ำมัน โดยเซ็นเซอร์ต่างๆ จับได้ว่าภายในห้องเผาไหม้นั้นมีอากาศมากกว่าเชื้อเพลิงหลายส่วน และร่วมกับการคำนวณค่าความร้อนของเอทานอลที่มีอยู่น้อยกว่าน้ำมันเบนซินปกติ จึงสั่งให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันในปริมาณที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้มีอัตราส่วนผสมระหว่างอากาศและน้ำมันที่เหมาะสมที่สุดและให้ค่าความร้อนได้เทียบเท่ากับน้ำมันเบนซินปกติ ดังนั้น ระยะทางที่วิ่งได้จริงเมื่อเทียบจำนวนต่อลิตรนั้น น้ำมันชนิดมีเอทานอลผสมอยู่จึงน้อยกว่า 

แล้วเราจะเติมแก๊สโซฮอล์เพื่ออะไร? - การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลนั้น สิ่งแรกเป็นการช่วยลดใช้พลังงานจากฟอสซิล ให้หันมาใช้เอทานอลที่ผลิตได้จากพืช พร้อมกับการลดมลภาวะที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาสโลก และยังราคาที่ต่ำกว่าเบนซินทั่วไปอีกด้วยสรุปว่าเติมแก๊สโซฮอล์ เพื่อประหยัดพลังงาน ลดมลภาวะรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้ในทางอ้อม  

การเลือกเติมน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น นอกจากจะใช้ให้ถูกประเภทของเครื่องยนต์ว่าเป็นเบนซินหรือดีเซลแล้ว การเลือกน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์เบนซินให้เหมาะสมนั้น ผู้ใช้รถยนต์ควรศึกษาและใส่ใจเพิ่มขึ้นในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้ถูกต้องตามชนิดและประเภทของเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้รถยนต์ได้อย่างคุ้มค่า ทนทาน เต็มประสิทธิภาพ และมีอายุยืนยาว โดยยึดหลักการง่ายๆ "เติมตามคู่มือที่ผู้ผลิตระบุเอาไว้" เพราะเครื่องยนต์ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมมากที่สุดแล้ว และใครที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลนับว่าสบายไม่ต้องคิดมากเพราะสามารถเติมได้ทุกรุ่น
แท็กที่เกี่ยวข้อง น้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง การเลือกน้ำมันเชื้อเพลิง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)