ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

จริงหรือไม่? รถตู้ไม่เหมาะกับการขนส่งมวลชน

icon 19 ม.ค. 60 icon 16,060
จริงหรือไม่? รถตู้ไม่เหมาะกับการขนส่งมวลชน

จริงหรือไม่? รถตู้ไม่เหมาะกับการขนส่งมวลชน

จากเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับรถตู้สาธารณะทั้งวินที่ขับในเมืองหรือวิ่งระหว่างจังหวัด กลายเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศไปแล้ว และจำเลยที่มีส่วนเอี่ยวด้วยในแต่ละเหตุการณ์นั่นคือ รถตู้หรือแวน 14 ที่นั่ง ที่ใช้ในการเดินทางนั่นเอง


ภาพจาก www.nissan.co.jp
รถตู้หรือรถแวนนับเป็นรถยนต์ที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารทั้งในลักษณะขององค์กร ครอบครัว เอกชน และขนส่งมวลชน ล้วนต้องใช้รถตู้ที่ถูกผลิตจากโรงงานค่ายรถยนต์นั้นๆ และเป็นไปตามมาตรฐาน

ภาพจาก www.toyota-global.com
ประเภทของรถตู้

โดยปกติรถตู้จะมี 2 ประเภทด้วยกันคือ รถตู้ทึบใช้เพื่อขนส่งสินค้าเท่านั้น รถแบบนี้ถูกผลิตออกมาให้เป็นตู้เปล่า มีที่นั่งคนขับและคนนั่งข้างเท่านั้น จะไม่มีเบาะสำหรับผู้โดยสาร เน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก และการจดทะเบียนก็จะเป็นลักษณะรถสำหรับบรรทุกของ

ภาพจาก www.toyota.co.th
ส่วนรถตู้ที่ผลิตเพื่อบรรทุกผู้โดยสาร จะผลิตมาพร้อมกับติดตั้งเบาะสำหรับผู้โดยสารแถวที่ 2 - 5 แถว และจะมีเพียงแถวละ 3 ที่นั่งเท่านั้น มีเพียงแถวสุดท้ายที่นั่งได้ 4 คน จะเห็นว่ารถตู้วินส่วนมากมักมีเบาะตามจำนวนที่นั่งจากโรงงานที่ผลิตมา  
  
ภาพจาก www.toyota-global.com

ภาพจาก www.nissan.co.jp
รถตู้วินที่วิ่งกันในประเทศไทยนั้น แม้จะมีจำนวนเบาะสำหรับนั่งครบถ้วนตามโรงงานผู้ผลิต แต่สิ่งที่เราอาจเห็นกันบ่อยๆ ก็คือ การรับผู้โดยสารเกินที่นั่งโดยการนั่งเบียดกัน เป็นต้น 
รถตู้ไม่เหมาะสมจริงหรือ? 
หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าการขนส่งไม่ว่าจะใช้รถยนต์ประเภทใด ลักษณะใด หากมีการดำเนินการถูกต้องตามกฎระเบียบและกฏหมายการขนส่งทางบกแล้ว ย่อมสามารถใช้ขนส่งผู้โดยสารได้ แม้ว่าในต่างประเทศจะไม่นิยมใช้รถตู้ในการนำมาเป็นรถสาธารณะก็ตาม ส่วนใหญ่เน้นใช้งานในองค์กร กิจการส่วนตัว หรือใช้เป็นรถในครอบครัว และรถสาธารณะส่วนมากก็เป็นรถโค้ช หรือมินิบัสขนาดกลางขึ้นไป แต่สิ่งที่ควรเน้นและสำคัญยิ่งกว่านั่นคือ "มนุษย์" หรือ "ผู้ควบคุมรถ" ของรถคันนั้นต่างหาก 

ภาพจาก www.toyota.co.th
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งของอุบัติเหตุของประเทศไทยเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สภาพถนนที่แย่ การก่อสร้างทำทางที่ไม่มีป้ายและการเตือนชัดเจน การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันที่ไม่เหมาะสม ความสว่างของไฟถนน ป้ายจราจรต่างๆ ที่ดูแล้วกำกวมชวนให้สับสน สภาพอากาศที่แปรปวน สภาพภูมิประเทศในพื้นที่นั้นๆ ด้วย รวมไปถึงวินัยในจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนอีกด้วย

ภาพจาก www.toyota.co.th
แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถควบคุมหรือลดการเกิดอุบัติเหตุได้ดีที่สุดคือ "ผู้ขับขี่" ไม่ว่าจะขับรถยนต์ประเภทใด หากผู้ขับไม่ประมาท ปฏิบัติตามกฎจราจร สภาพร่างกายพร้อม และมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมทั้งการศึกษาเส้นทางและศึกษายานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางให้ละเอียดรอบคอบแล้วนั้น ก็จะช่วยลดอุบัติเหตุได้มากขึ้น และเท่านั้นยังไม่พอครับ ผู้โดยสารที่ร่วมทางก็ควรช่วยเป็นหูเป็นตาหรือไม่ควรทำสิ่งใดที่รบกวนสมาธิในการขับขี่อีกด้วย เรียกว่า "พร้อมทั้งคนขับและคนนั่ง" ยิ่งช่วยให้การเดินทางไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ รถบรรทุกหรือรถบัสปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ภาพจาก www.toyota-global.com
ดังนั้น รถตู้ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถนำมาใช้เป็นสาธารณะได้ เพียงแต่ว่าผู้ประกอบการต้องมีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการ เริ่มตั้งแต่ตรวจสอบสภาพรถยนต์ คนขับ เส้นทาง และหมั่นอบรมผู้ขับขี่อย่างสม่ำเสมอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรเข้มงวดมากขึ้น เอาจริงเอาจังกับผู้ที่กระทำผิดหรือฝ่าฝืนไม่ตรวจสภาพรถยนต์ให้พร้อมใช้งาน การกำหนดระยะเวลาจอดพักของคนขับ เป็นต้น     

รถสาธารณะติดแก๊สแล้วน่ากลัวจริงหรือ?

ภาพจาก www.paramountngv.com
เป็นที่ทราบกันในวงกว้างว่า "แก๊สไวไฟนั้นน่ากลัว" ซึ่งเป็นเรื่องจริง! หากรถคันนั้นได้รับการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีวิศวกรควบคุมอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะรถยนต์สาธารณะยิ่งต้องเข้มงวดมากเป็นพิเศษ (ความจริงต้องเข้มงวดทุกคันที่ติดตั้ง) เพื่อความปลอดภัยต่อประชาชนและผู้ร่วมทาง แต่หากได้รับการติดตั้งที่ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักวิศวกรแล้ว ย่อมใช้งานได้และมีความปลอดภัยอยู่ในระดับมาตรฐาน พร้อมมีการตรวจเช็คสภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธีก็สามารถใช้งานได้ไม่แตกต่างกับน้ำมันเชิงเพลิง

ภาพจาก www.truck.in.th
ความจริงที่ควรรู้คือ รถทุกคันไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิง ย่อมมีโอกาสเกิดการลุกไหม้ได้ทั้งหมด หากเกิดการชนปะทะอย่างรุนแรง และเกิดการเสียหายในจุดที่มีท่อทางเดินของเชื้อเพลิงนั้นหลุดหรือขาดออกจากกัน นั่นหมายความว่า "ทุกเชื้อเพลิงย่อมมีโอกาสติดไฟได้ทั้งหมด" 

ภาพจาก www.doctorgas.net.au
เมื่อระบบน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเกิดความเสียหายในระบบท่อทางเดินน้ำมัน เช่น รั่ว หลุด ฉีกขาด เมื่อถูกประกายไฟก็เกิดการลุกไหม้ได้ และในรถยนต์ทั่วไปที่ใช้น้ำมันบางครั้งไม่มีระบบตัดการจ่ายน้ำมันจากถังน้ำมัน เมื่อท่อน้ำมันชำรุด หลุดหรือรั่ว น้ำมันในถังจะไหลออกมาทันที และเสี่ยงต่อการระเบิดได้เช่นกัน เพราะระบบน้ำมันมีเพียงปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงและไส้กรองเท่านั้นที่เป็นตัวขวางกั้นระหว่างทางในระบบจากถังเก็บน้ำมันสู่เครื่องยนต์ (ปัจจุบันรถยนต์บางรุ่นได้ติดตั้งระบบตัดน้ำมันเมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรงแล้ว)

ภาพจาก www.turotolpg.com
สำหรับรถยนต์ที่ใช้แก๊สทั้ง LPG และ NGV ก็มีโอกาสเกิดการลุกไหม้ได้เช่นกัน หากเกิดการชำรุดของอุปกรณ์จ่ายแก๊สเข้าเครื่องยนต์ เช่น หม้อต้น กรองแก๊ส หรือท่อทางเดินต่างๆ ที่ไหลเข้าเครื่องยนต์ หรือเกิดการรั่วซึมอย่างช้าๆ จนระบบเซฟตี้วาล์วไม่สามารถตัดการจ่ายแก๊สออกจากถังได้ในทันที ส่วนการกลัวว่าถังแก๊สจะระเบิดนั้นมีโอกาสน้อยมาก เพราะที่ถังแก๊สจะมีวาล์วตัดการจ่ายเมื่อแรงดันภายนอกถังหรือแก๊สรั่วออกอย่างรวดเร็ว วาล์วนี้ก็จะปิดทันที ลดการไหลออกของแก๊สในถังและลดการติดไฟได้มากกว่า และเจ้าวาล์วตัดการไหลของแก๊สนี้มักมีติดตั้งในหลายจุด เช่น หม้อต้ม วาล์วที่ถังแก๊ส เป็นต้น  

ภาพจาก www.sakhononline.com
รถยนต์สาธารณะที่ระบบแก๊สเป็นเชื้อเพลิงในประเทศไทยนั้นมีมานานหลายสิบปี จนผู้ใช้บริการเกิดความเคยชิน เปรียบกับการใช้เตาแก๊สหุงต้มประกอบอาหารที่วางถังแก๊สและเตาแก๊สใกล้ๆ กัน หรือการใช้เตาแก๊สทำอาหารภายในบ้าน ซึ่งนับเป็นวิธีชีวิตของคนไทยตลอดมา ดังนั้น ความน่ากลัวไม่ได้อยู่ที่เชื้อเพลิง แต่อยู่ที่ผู้ใช้งานว่าจะใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ และไม่ว่ารถยนต์สาธารณะจะใช้น้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือแก๊สก็ตาม ต้องยึดหลักความไม่ประมาท เคารพกฏจราจรและขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่ใช้ความเร็วเกินกำหนด เพียงแค่นี้ก็จะช่วยลดความสูญเสียบนท้องถนนไปได้อีกมากมาย
"ไม่ขับเมื่อง่วง-เมา-อ่อน-เพลีย-รถไม่พร้อม ควรศึกษาเส้นทาง สภาพจราจรและไม่ประมาท ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย"

"สำคัญที่สุดคือ ผู้ควบคุมรถนั่นเอง"
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถตู้วิน รถตู้ รถตู้สาธารณะ
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)