ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ที่ปัดน้ำฝน ควรเปลี่ยนเมื่อไร?

icon 14 ก.ย. 59 icon 26,086
ที่ปัดน้ำฝน ควรเปลี่ยนเมื่อไร?

ที่ปัดน้ำฝน ควรเปลี่ยนเมื่อไร ?

ใบปัดน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่เราควรหมั่นดูแลให้ถูกวิธี และต้องคอยเปลี่ยนใหม่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ปัจจุบันในประเทศไทยมีแสงแดดที่ร้อนมากและฝนก็ตกบ่อยไม่เป็นไปตามฤดูกาลหรือเจอทั้งแดดและฝนในวันเดียวกัน ดังนั้น เราควรใส่ใจกับใบปัดน้ำฝนกันมากขึ้น มาดูว่าการบำรุงรักษาและการเลือกใช้ใบปัดน้ำฝนของรถยนต์แต่ละรุ่นกันเลย

การตรวจเช็คและดูแลรักษา

1. ห้ามยกก้านปัดน้ำฝนตั้งขึ้นเมื่อจอดตากแดด! เพราะว่าสปริงที่ใช้กดน้ำหนักให้หน้าสัมผัสของยางปัดสม่ำเสมอกับกระจกอาจเกิดอาการล้าและกดน้ำหนักลงกระจกได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งถ้าคิดค่าเปลี่ยนอะไหล่สปริงยกชุดทั้งก้านเหล็กจะแพงกว่าเปลี่ยนใบปัดอย่างเดียวเสียอีก หรืออาจต้องหาสปริงเทียบใส่แทนของเดิม หากไม่อยากจ่ายแพง ซึ่งยุ่งยากกว่า ตัวยางใบปัดที่เปลี่ยนถูกกว่าและสามารถเปลี่ยนเฉพาะเส้นยางใบปัดก็ได้ด้วย ในส่วนของอายุการใช้งานของใบปัดน้ำฝน ไม่ควรใช้นานเกิน 1 ปี หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ทำความสะอาดยางปัดบ่อยๆ เช่น ก่อนจะขับรถตอนเช้า (ถ้าสะดวก) ยกให้ลอยๆ ขึ้นสักนิดและใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็คก่อน หรือ ถ้าไม่มีผ้าให้ยกและเขย่าเบาๆ ให้เศษฝุ่นหรือใบไม้ต่างๆ หลุดไปก่อน เพื่อให้ที่ปัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สัมผัสหรือลูบที่ใบปัดน้ำฝนเบาๆ เพื่อตรวจเช็ค เราสามารถตรวจเช็คสภาพใบปัดได้ง่ายๆ เพียงสัมผัสหรือลูบคมที่ใบปัดเบาๆ หากรู้สึกสะดุดไม่เรียบหรือมีความแข็งตัว แสดงว่ายางเรื่มเสื่อม และสังเกตได้ด้วยการลองฉีดน้ำที่กระจกแล้วเปิดให้ที่ปัดน้ำฝนทำงาน แล้วลองฟังเสียง ถ้ามีเสียงดังคล้ายกระจกถูกกรีด ปัดไม่สะอาดเป็นเส้นๆ หรือไม่สามารถกวาดน้ำออกได้เลย ก็แสดงว่ายางใบปัดเสื่อมสภาพเช่นกันครับ  
4. สังเกตรอยบนกระจก สังเกตบนกระจกว่ามีรอยขูดขีดของโครงเหล็กก้านใบปัดหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าใบปัดรถคุณไม่เหลือซะแล้ว มีเพียงโครงเหล็กที่กวาดกระจกอยู่นั่นเองครับ ข้อนี้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จนเกิดรอยลึกมากๆ อาจต้องเปลี่ยนกระจกใหม่นะครับ  

การเลือกใบปัดน้ำฝน

ที่ปัดน้ำฝนมีหลากหลายชนิด โดยส่วนมากเน้นให้เปลี่ยนตามสเปคโรงงานเดิมเอาไว้ก่อน โดยเฉพาะรถใหม่ๆ ให้นำรถเข้าศูนย์แจ้งฝ่ายซ่อมบำรุงได้เลยว่าต้องการเปลี่ยนใบปัดน้ำฝน เพราะคุณภาพจากโรงงานย่อมชัวร์และตรงกับรุ่นมากที่สุด 

ภาพจาก th.bosch-automotive.com
ส่วนถ้าต้องการที่ปัดน้ำฝนชนิดที่เป็น "ของแต่ง" ก้านเปลือยหรือไม่มีโครงเหล็กนั้น ก็ตามความชอบของแต่ละคนได้เลยครับ ซึ่งก็มีให้เลือกมากมายตามราคา แต่ควรจะให้ขนาดความยาวนั้นตรงตามสเปคเดิมเอาไว้
การเปลี่ยนเฉพาะยางปัดโดยใช้โครงเหล็กเดิม นับเป็นที่นิยมมาก เพราะราคาถูกสุดคู่ละ 80 - 100 บาท พร้อมบริการเปลี่ยนเสร็จสรรพ แต่คุณภาพย่อมลดลงตามราคา เช่น ใช้งานจริงๆ อาจได้เพียง 6 - 8 เดือน อาจมากหรือน้อยกว่าแล้วแต่ภูมิอากาศและลักษณะการใช้งาน 

ภาพจาก jobatbangkok.com
มาดูตารางขนาดของใบปัดน้ำฝนรถยนต์รุ่นต่างๆ กันครับว่าควรใช้ขนาดใดบ้าง 

ภาพจาก www.itop-autopart.com
การเปลี่ยนและรักษาคุณภาพของใบปัดน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้วิสัยทัศน์ในการขับขี่ยามฝนเทกระหน่ำชัดเจนปลอดภัยมากขึ้น และควรเปิดไฟหน้า พร้อมกับการขับช้าๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอีกระดับนะครับ
แท็กที่เกี่ยวข้อง รถยนต์ ใบปัดน้ำฝน ฝนตก เปลี่ยนใบปัดน้ำฝน
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
คำนวณสินเชื่อเพื่อออกรถยนต์

ตัวช่วยให้คุณพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อรถ




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)