ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ติดแก๊สแล้วต้องดูแลอะไรบ้าง?

icon 11 พ.ค. 58 icon 25,565
ติดแก๊สแล้วต้องดูแลอะไรบ้าง?

ติดแก๊สแล้วต้องดูแลอะไรบ้าง?
ปัจจุบันการติดตั้งแก๊สรถยนต์ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ราคาน้ำมันจะลงมาต่ำระดับไหนก็ตาม ส่วนต่างของราคาตอนเติมน้ำมันกับแก๊สย่อมมากกว่าหรือเท่ากับครึ่ง เช่น ราคาน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล 91 ประมาณ 30 บาทต่อลิตร ส่วนราคา แก๊ส LPG ประมาณ 15 บาทต่อลิตร เป็นต้น ดังนั้นหากเติมในปริมาณ 30 ลิตร ราคาน้ำมันฯ เท่ากับ 900 บาท ส่วนแก๊ส LPG เท่ากับ 450 บาท ครึ่งหนึ่งพอดิบพอดี และในอนาคตราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้ ซึ่งราคาแก๊ส LPG ต่อให้สูงขึ้นก็ไม่มีโอกาสแซงราคาน้ำมันไปได้ 

ใครๆ ก็ยากเห็นแบบนี้ แต่คงยาก...
ดังนั้นพลังงานทางเลือกชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมมากขึ้น เราจึงพบเห็นรถยนต์ทั้งญี่ปุ่นและยุโรปหันมาใช้พลังงานทางเลือกหรือแก๊สกันเต็มถนนไปหมด (เว้นรถรับจ้างสาธารณะที่ใช้กันมากกว่า 20 ปีแล้ว!) ดังนั้นการดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากจะเลือกใช้อุปกรณ์แก๊สและร้านติดตั้งที่ได้มาตรฐานแล้ว ผู้ใช้เองจำเป็นต้องรู้วิธีดูแลระบบแก๊สเบื้องต้นอย่างถูกวิธี เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยตนเองได้และรู้ข้อมูลจะได้ไม่โดนช่างฟันหัวแบะก่อนออกจากร้าน!
Gas มี 2 ชนิดแยกให้ออกก่อนเติม
เมื่อจะเติมแก๊สหากกลัวเข้าผิดปั๊ม ให้สังเกตง่ายๆ อันดับแรกคือ 
1. ปั๊มหรือตู้จ่ายต้องระบุชนิดชัดเจนว่าเป็น LPG หรือ NGV

2. จุดรับแก๊สแตกต่างกัน LPG ส่วนมากจะเติมส่วนท้ายรถ ส่วนทางด้าน NGV จะเติมส่วนหน้าบริเวณห้องเครื่องยนต์ (ทั้ง 2 ชนิดอาจยกเว้นรถที่ติดตั้งแก๊สจากโรงงานจุดเติมจะอยู่บริเวณที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิง)

จุดเติมแก๊สแอลพีจีมักจะติดตั้งส่วนท้ายรถ

จุดเติมเอ็นจีวีอยู่ในห้องเครื่องยนต์

รถที่ติดตั้งจุดเติมแก๊สเอ็นจีวี บริเวณเดียวกับน้ำมัน
3. ลักษณะหัวเติมแตกต่างกันของ LPG เป็นแบบหมุนเกลียว ส่วน NGV เป็นการสวมเข้ากับหัวจ่าย

หัวรับแก๊ส LPG

หัวรับแก๊ส NGV
ข้อควรระวัง หลังจากการเติมทุกครั้งควรปิดฝาครอบให้สนิทด้วยครับ
การใช้สวิตช์สลับเชื้อเพลิงและไฟระดับแก๊ส

สวิตช์สลับเชื้อเพลิงและไฟบอกระดับแก๊สเป็นอุปกรณ์หลักๆ ที่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในจุดที่เห็นชัดเจนและใช้งานได้สะดวก เพราะไม่ใช่แค่บอกสถานะการใช้เชื้อเพลิงหรือระดับแก๊สในถังเท่านั้น แต่ยังเป็นสวิตช์สำหรับสตาร์ตระบบแก๊สในภาวะฉุกเฉินเมื่อน้ำมันเกลี้ยงถังอีกด้วยครับ เช่น โดยปกติระบบแก๊สหัวฉีดจะถูกตั้งค่าการสตาร์ตเครื่องยนต์ด้วยน้ำมันก่อน เมื่ออุณหภูมิอยู่ในสภาวะเหมาะสมก็จะสลับเป็นแก๊สให้อัตโนมัติ แต่ถ้าหากน้ำมันหมดถังล่ะ? สตาร์ตไม่ติดแน่ๆ เจ้าสวิตช์นี้จึงมีระบบสตาร์ตด้วยแก๊สได้เลย เพื่อเหตุจำเป็นแบบนี้นั่นเองครับ
วิธีใช้ขึ้นอยู่กับระบบหรือยี่ห้อแก๊สนั้นๆ แต่โดยส่วนมากจะใช้วิธีกดปุ่มสำหรับสับเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงค้างเอาไว้ พร้อมๆ กับบิดกุญแจสตาร์ตเครื่องยนต์
ศึกษาคู่มือเอาไว้อุ่นใจกว่า
ร้านที่ติดตั้งแก๊สมักจะมีคู่มือประกอบการใช้งานมาให้ ซึ่งปกติมักไม่มีใครสนใจ แต่เชื่อเถอะครับว่า การศึกษาคู่มือการใช้งานรถที่ติดตั้งแก๊ส ช่วยให้เรามีความปลอดภัยมากขึ้นและรู้เทคนิคต่างๆ อีกหลายอย่างด้วย

ความแตกต่างของอุปกรณ์
อุปกรณ์ติดตั้งก๊าซ LPG และ NGV/CNG ในรถยนต์มีความแตกต่าง ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรสังเกตเอาไว้บ้างก็จะเป็นผลดีนะครับ

อุปกรณ์แก๊ส LPG

อุปกรณ์แก๊ส NGV/CNG 
อุปกรณ์ของทั้ง 2 ชนิดทำหน้าที่คล้ายกัน แตกต่างในเรื่องความทนทานต่อแรงดันที่ไม่เท่ากัน และข้อสำคัญใช้แทนหรือเติมสลับกันไม่ได้เด็ดขาด!
การดูแลรักษารถใช้แก๊สเบื้องต้น

การดูแลรักษารถติดแก๊สเบื้องต้น
  1. สังเกตอาการ กลิ่น เสียง ที่ผิดปกติ เช่น ได้กลิ่นแก๊ส, เสียงลมพ่นออกมาแรงๆ ให้รีบตรวจดูทันทีและห้ามติดเครื่องยนต์จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีการรั่ว 
  2. ตรวจเช็คระบบโดยรวมที่ 1,000 กม.แรก หลังจากติดตั้งหรือถี่กว่านั้น เพราะเมื่อติดตั้งใหม่อาจมีอุปกรณ์บางชิ้นส่วนปรับสภาพการทำงานให้เข้าที่ อาจต้องเข้าสถานที่ติดตั้งก๊าซเพื่อตรวจสอบบ่อยๆ ในระยะแรกๆ และหลังจากนั้นให้ตรวจเช็คทุกๆ 5,000 กม. หรือ 10,000 กม. ตามสะดวก โดยให้นับตามระยะทางรถที่วิ่งมาจริงต่อเนื่องจาก 1 กม.ขึ้นไปหรือบวก 5,000 กม.ต่อไป เช่น รถติดตั้งก๊าซที่ 80,000 กม. และผ่านการเช็คช่วง 1,000 กม.แรกแล้ว ให้บวก 5,000 หรือ 10,000 กม. จึงนับเป็นระยะทางที่ควรตรวจเช็คครั้งต่อไป
  3. ทดลองจับหรือขยับท่อทางเดินของก๊าซในจุดข้อต่อต่างๆ ว่าแน่นดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจเช็คระบบท่อทางเดินของน้ำมันเชื้อเพลิงควบคู่ไปด้วย เพราะระบบน้ำมันมักจะถูกละเลยเมื่อใช้แก๊สไปนานๆ ซึ่งท่อยางต่างๆ ในระบบน้ำมันอาจชำรุดเปื่อยขาดได้เช่นกัน
  4. ตรวจเช็คระยะห่างของวาล์วทุก 40,000 กม. โดยการนำรถเข้าสถานติดตั้งหรือร้านที่รับตั้งวาล์วทั่วไป เพื่อปรับระยะยกของวาล์วให้กลับมาปิดสนิทป้องกันอาการ "วาล์วยัน" ที่ส่งผลให้กำลังอัดรั่วและเครื่องยนต์ไม่มีกำลังหรือเครื่องยนต์สั่น
  5. ตรวจระบบน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำสม่ำเสมอ "ห้ามขาด" เพราะหากน้ำในหม้อน้ำแห้งอาจส่งผลให้เครื่องยนต์ "โอเวอร์ฮีต" (อาจไม่เกี่ยวข้องกับระบบแก๊สโดยตรง) และอาจทำให้ฝาสูบ, ชุดวาล์ว หรือชิ้นส่วนในเครื่องยนต์เสียหายได้
  6. เปลี่ยนหัวเทียนทุก 30,000 กม. เพื่อป้องกันการจุดระเบิดไม่สมบูรณ์หรือการกระโดดข้ามของประกายไฟที่อาจรั่วออกมาด้านนอก รวมทั้งตรวจเช็คสายไฟหัวเทียนและคอยล์จุดระเบิดให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วย
  7. ควรสลับใช้น้ำมันก่อนจอดรถค้างคืนหรือก่อนกลับถึงบ้านระยะทางประมาณ 10 กม. เพื่อให้ระบบท่อทางเดินและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันได้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ ช่วยยืดอายุการใช้งานของระบบจ่ายน้ำมันให้มากขึ้น โดยเฉพาะที่ใช้แก๊สวิ่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน (เดินทางไกล) ก็ควรสลับใช้น้ำมันควบคู่ไปด้วย
  8. ระบบถัง LPG ควรตรวจสอบถังบรรจุก๊าซทุก 5 ปี และระบบ NGV/CNG ตรวจทุก 1 ปี ตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด
  9. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งขณะเติมเชื้อเพลิงทุกชนิด
  10. ดูแลรักษาระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ตามที่ระบุไว้ในคู่มือรถยนต์ตามรุ่นอย่างเคร่งครัด
พลังงานทางเลือกไม่เพียงเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานให้เหมาะสมหรือสอดคล้องกับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ผลพลอยได้จากการใช้พลังงานเหล่านี้นั่นคือ การลดมลภาวะได้มากกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน และควรร่วมกันรณรงค์การประหยัดพลังงานทุกรูปแบบควบคู่ไปด้วย เพื่อเหลือเอาไว้ใช้ในอนาคตต่อไป
ลองคิดดูว่า... หากพลังงานเหล่านี้หมดไปแล้วมนุษย์อย่างเราจะใช้พลังงานจากไหน ถึงตอนนั้นต่อให้มีเงินล้นฟ้าก็หาซื้อไม่ได้นะครับ...
บทความที่เกี่ยวข้อง
ติดแก๊ส ดีไหม แตกต่างอย่างไร?


แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)