ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

วิธีแก้ปวดหลังขณะขับรถ

icon 12 ก.ย. 57 icon 33,587
วิธีแก้ปวดหลังขณะขับรถ

วิธีแก้ปวดหลังขณะขับรถ

ปัจจุบันสภาพการจราจรในประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ หนาแน่นมากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการเดินทางนานขึ้น แม้จะเป็นระยะทางเพียงไม่กี่กิโลเมตร แต่อาจใช้เวลาเป็นชั่วโมงได้ หรือในบางครั้งที่เราเดินทางระยะทางไกลๆ อาจต้องนั่งขับรถในท่าเดิมเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีอาการเจ็บหรือปวดหลัง และอาการจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการป้องกันหรือดูแลท่าทางการนั่งขับรถที่ถูกวิธี

การนั่งขับรถต่างกับการนั่งเก้าอี้ธรรมดาอย่างไร

ถ้ารถที่ท่านขับอยู่นิ่ง การขับรถไม่ได้ต่างจากการนั่งเก้าอี้ธรรมดา แต่ขณะที่รถมีการเคลื่อนที่จะมีแรงกระทำต่อร่างกายในหลายทิศทาง ได้แก่ ความเร่งจากการเคลื่อนที่ ความเฉื่อยจากการลดความเร็ว แรงเหวี่ยงจากการเลี้ยว และแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์และความขรุขระของถนน ซึ่งขณะขับรถจำเป็นต้องใช้เท้าเพื่อบังคับรถ ดังนั้น การใช้ขาเพื่อช่วยในการทรงท่าเหมือนการนั่งเก้าอี้ธรรมดาจึงเป็นไปได้ยากในขณะขับรถ คล้ายกับการนั่งเก้าอี้ที่สูงเท้าไม่ถึงพื้นจะรู้สึกว่าทรงตัวได้ยาก กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานตลอดเวลาแ ละมีอาการปวดหลังได้ง่ายกว่าการนั่งแบบเท้าถึงพื้น

ขับรถนานเท่าไร เสี่ยงต่ออาการปวด

จากการศึกษาในชายที่มีปัญหาปวดหลัง พบว่าการขับรถเป็นระยะเวลานานมีความสัมพันธ์อาการปวดหลัง ยิ่งถ้าขับรถเป็นระยะเวลานานขึ้นจะมีอาการปวดหลังมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ต้องขับรถนานกว่า ๔ ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น จึงมักพบอาการปวดหลังได้บ่อยในพนักงานชายที่ต้องอยู่บนถนนตลอดเวลา และในคนขับรถบริการสาธารณะ

ท่าทางในการขับรถกับความเสี่ยงของอาการปวด

การนั่งนานเป็นสาเหตุให้ปวดหลังได้ แม้ว่าจะนั่งให้ถูกท่าทางอย่างไร เพราะส่วนโค้งของหลังส่วนเอวจะโค้งกลับทิศขณะนั่ง (Reverse Lordosis) ซ้ำร้ายการขับรถจะบังคับให้ผู้ขับขี่ให้ความสนใจและมีสมาธิกับการขับรถโดยมักไม่สนใจที่จะเปลี่ยนท่าทาง ทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่างๆ อยู่ในท่าเดิมนานจนเกิดปัญหาอาการปวดของข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทจากการทรงท่าที่อยู่นิ่งนานเกินไป (Prolonged Static Posture) 

ทำอย่างไรจึงขับปลอดภัยและไม่ปวดหลัง

วิธีการที่ดีที่สุดคือต้องปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่ แต่การปรับต้องคำนึงถึงการมองเห็นของผู้ขับขี่ด้วย ไม่ใช่ที่นั่งถูกหลักการยศาสตร์ แต่การมองเห็นไม่ดี

การปรับที่นั่ง
  1. เริ่มด้วยการปรับที่นั่ง และพวงมาลัยให้ไปสู่จุดเริ่มต้นก่อน
  2. หลังจากนั้นจึงปรับพวงมาลัย ยกขึ้นให้สุด และดันไปด้านหน้าให้สุด
  3. ปรับที่นั่งให้ต่ำที่สุด
  4. ปรับที่นั่งให้ด้านหน้าเทลงไปให้สุด
  5. ปรับพนักพิงให้เอียงไปทางด้านหลังประมาณ ๓๐ องศาจากแนวดิ่ง
  6. ปรับส่วนรองรับหลัง (Lumbar Support) ไปทางด้านหลังให้มากที่สุด
  7. ดันที่นั่งให้ไปด้านหลังให้สุด
ตามด้วยการปรับที่นั่งให้เข้ากับตัวผู้ขับขี่โดยมีขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้
  1. ยกที่นั่งขึ้นจนมองเห็นได้รอบ
    - ที่นั่งไม่ควรสูงเกินไปจนศีรษะชิดกับหลังคารถด้านใน
    - ต้องแน่ใจว่ามองเห็นได้อย่างเต็มที่
  2. เลื่อนเก้าอี้มาทางด้านหน้าจนเท้าสามารถควบคุมคันเร่ง เบรก และ คลัตช์ ได้สะดวก
    - อาจปรับความสูงที่นั่งได้อีกเล็กน้อยเพื่อให้ใช้เท้าบังคับ คันเร่ง เบรก และ คลัตช์ ได้ดีขึ้น
  3. ปรับความลาดเอียงของที่นั่งจนต้นขาสัมผัสกับที่นั่งทั้งหมด
    - ต้องระวังไม่ให้มีแรงกดที่ด้านหลังของเข่ามากไป
  4. ปรับพนักพิงให้พิงได้จนถึงระดับไหล่
    - ไม่ควรเอนเก้าอี้ไปทางด้านหลังมากเกินไป เพราะทำให้ไม่ได้พิงหลัง เพราะการมองเห็นจะมีปัญหาถ้าเอนหลังไปพิงพนัก ผู้ขับขี่มักจะอยู่ในท่าก้มคอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น
  5. ปรับส่วนรองรับโค้งของหลังให้รู้สึกว่ามีแรงกดเท่ากันตลอดของหลังส่วนล่าง
    - ถ้าไม่มีส่วนนี้อาจใช้หมอนเล็กหนุนหลังส่วนล่างแทนได้
  6. ปรับพวงมาลัยให้เข้ามาใกล้ตัว และดันลงให้อยู่ในระยะที่จับได้สะดวก
    - ต้องมีช่องว่างให้ยกขาท่อนบนได้บ้างขณะใช้เท้าบังคับรถ และขณะลุกออกจากที่นั่ง
    - ตรวจดูว่าพวงมาลัยไม่บังหน้าปัด
  7. ปรับพนักพิงศีรษะให้สูงเท่าระดับศีรษะ
    - พนักพิงศีรษะมีจุดประสงค์หลักเพื่อไม่ให้คอสะบัดอย่างรุนแรง (Whiplash Injury) ขณะเกิดอุบัติเหตุ 
ทำซ้ำลำดับ 1-7 อีกครั้ง ถ้ารถของท่านปรับไม่ได้  อย่างน้อยควรหาหมอนมาหนุนหลังส่วนล่าง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง
การพักและการบริหารร่างกาย
ควรพักทุก 2 ชั่วโมง โดยการลุกออกจากที่นั่งมาบริหารร่างกายด้วยการยืนแอ่นหลัง 10 วินาที 2-3 ครั้ง และเดินไปมาประมาณ 5 นาที ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่นั่งเกิน 2 ชั่วโมง พยายามแอ่นหลังบ่อยๆ ในขณะนั่งขับรถ การขับรถใช้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับงานอื่นๆ  จึงควรออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งอย่างต่อเนื่องที่ทำให้เหนื่อยปานกลางอย่างน้อย 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์

การนั่งขับรถที่ถูกวิธีนั้นอาจเป็นเพียงการช่วยให้คลายการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณหลังและส่วนอื่นที่ใช้งานขณะนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การจอดพักเพื่อยืดเส้นยืดสายให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย อย่าคิดว่าจะต้องขับยาวๆ ให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด โดยไม่จอดแวะพักเพราะกลัวว่าจะถึงช้ากว่าที่กำหนด หรือบางคนอาจชอบทำเวลาในการเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ให้น้อยที่สุดเพื่อจะได้เอาไปคุยว่า "ฉันขับไปจังหวัดนั้นใช้เวลาแค่นี้เอง" แต่ผลกระทบนอกจากเรื่องการปวดเมื่อยแล้ว ร่างกายอาจเหนื่อยล้าเนื่องจากไม่ได้พักจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงตามมาได้นะครับ ด้วยความห่วงใยจาก เช็คราคา.คอม

แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)