ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

ดูแลรถยนต์อย่างไร ให้แจ่มในช่วงหน้าร้อน

icon 4 เม.ย. 60 icon 57,429
ดูแลรถยนต์อย่างไร ให้แจ่มในช่วงหน้าร้อน

ดูแลรถยนต์อย่างไร ให้แจ่มในช่วงหน้าร้อน
เข้าหน้าร้อนทำให้การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว มักมีปัญหาง่ายกว่าเดิม ด้วยอุณหภูมิที่สูง จึงทำให้รถยนต์ที่ขาดการดูแลรักษามักเกิดปัญหากันมากในช่วงนี้ เนื่องจากอุณหภูมิในปัจจุบันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยช่วงกลางเดือนเมษายนมักพุ่งไปแตะถึงระดับ 38-40 องศาเซลเซียส นั่นย่อมส่งผลกระทบทั้งคนและรถ จนยากหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเตรียมรับมือก่อนเกิดปัญหาย่อมเป็นการเตรียมตัวทีดี และผ่อนจากหนักเป็นเบาได้ เช็คราคา.คอม มีคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรถในช่วงหน้าร้อนมาฝากผู้อ่านทุกท่าน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองก่อน
เบื้องต้นควรหมั่นเปิดฝากระโปรง(รถ) ตรวจระดับน้ำที่ถังพัก เวลาขับก็ลองสังเกตมาตรวัดอุณหภูมิความร้อนบนหน้าปัดบ้าง หากเป็นรถที่มีอายุมากหรือสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ยิ่งต้องหมั่นตรวจเช็คให้บ่อยครั้งขึ้น อาจต้องดูกันอาทิตย์ละครั้ง สำหรับขั้นตอนตรวจเช็คความพร้อมของระบบระบายความร้อนได้ด้วยตัวคุณเองมีดังนี้

รถหลายรุ่นมักมีมาตรวัดความร้อนให้ ถ้าไม่มีสามารถซื้อตัววัดแยกมาติดเพิ่มได้
1. การเช็คระดับน้ำ
การเช็คระดับน้ำมี 2 วิธีคือ เช็คที่ฝาปิดหม้อ และที่กระบอกถังพักน้ำ
1.เช็คที่ฝาหม้อน้ำ - ทุกครั้งที่เปิดหม้อน้ำเช็ค ต้องเปิดขณะเครื่องเย็นนะครับ! (ถ้าอุณหภูมิสูงอยู่ น้ำร้อนๆ อาจพุ่งออกมาเป็นอันตรายได้) ระดับน้ำควรอยู่ที่บริเวณคอของปากทางเข้าไม่ควรเติมจนเกินหรือล้นออกมา เพราะเวลาเครื่องร้อนได้ที่น้ำจะขยายตัวและดันส่วนเกินทิ้ง หรือไหลไปรวมในถังพักและดันออกทางท่อน้ำทิ้ง เปล่าประโยชน์

เปิดเช็คที่ฝาหม้อน้ำโดยตรง
2. เช็คที่ถังพักน้ำ แค่เปิดฝามองดูว่าระดับน้ำอยู่ในตำแหน่ง "MAX" หรือไม่ ถ้าต่ำกว่าก็เติมให้พอดี ไม่จำเป็นต้องเติมเกินครับ
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ  หากเติมน้ำเกินคอของปากหม้อน้ำ ให้พยายามดูดน้ำออกจะใช้วิธีอะไรก็ตามสะดวกครับ เพื่อให้น้ำลดลงมาอยู่ในระดับที่ถูกต้องครับ หรือ หากเติมเกินถังพักน้ำก็ควรดูดน้ำออกให้อยู่ในระดับตัวหนังสือที่เขียนไว้ข้างกระบอกน้ำว่า "MAX" เช่นกัน 
*เมื่อน้ำลดระดับลงไม่มากนักสามารถใช้น้ำเปล่าเติมคืนได้เลย แต่หากลดระดับลงไปมากหรือน้ำแห้ง ให้เติมน้ำเปล่าให้พอขับได้ก่อน และนำรถเข้าสถานบริการเพื่อหาสาเหตุที่น้ำลดจนแห้งหรือหาจุดรั่วต่อไป

เช็คระดับน้ำในถังพักให้อยู่ระดับ MAX
2. เช็คซีลยางฝาปิดหม้อน้ำ
ฝาหม้อน้ำนอกจากทำด้วยโลหะแล้วยังมียางรองที่ใต้ฝาเพื่อกันน้ำรั่วซึมออกมา ดังนั้นจึงเป็นจุดที่ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ

ซีลยาง หรือโอริงฝาปิดหม้อน้ำจุดเล็กๆ ที่ไม่ควรมองข้าม
เช็คสภาพซีลยางกันรั่วที่ฝาปิดหม้อน้ำ ถ้ายางเริ่มแข็งตัวไม่นิ่มเหมือนตอนมาใหม่ๆ ให้ซื้อเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะจะปิดน้ำไม่อยู่เนื่องจากซีลยางไม่สามารถแนบสนิทขอบที่เติมน้ำ
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ หากน้ำพร่องก็เติมให้พอดีคอปากหม้อน้ำและพยายามปิดกลับเข้าไปให้สนิท ขับไปร้านอะไหล่ที่ใกล้ที่สุดครับ
3. ตรวจสภาพท่อยางน้ำ
ท่อยางน้ำเป็นเส้นทางหมุนเวียนน้ำหล่อเย็นในระบบเข้าสู่เครื่องยนต์และวนกลับมาที่หม้อน้ำอีกครั้ง ดังนั้นจึงเป็นหัวใจหลักอีกจุดหนึ่งที่ต้องตรวจเช็คเป็นประจำ

ท่อยางน้ำด้านบนดูว่าไม่แตกลายงาหรือบวม ถ้าเจอให้รีบเปลี่ยนทันที

สภาพนี้ยังใช้ได้                                                              อันนี้ควรเปลี่ยนด่วน!
เอามือบีบ... ตามอง... ลองสังเกตที่ท่อทางเดินน้ำทุกจุดที่เป็นท่อยาง ทั้งท่อยางน้ำเข้าสู่เครื่องทั้งด้านบนและด้านล่าง เมื่อลองบีบดูแล้วปล่อยจะต้องยุบและคืนตัวได้ดี มีความยืดหยุ่นไม่แข็งตัว หากพบว่าแข็งบีบแล้วมีความรู้สึกกรอบๆ หรือเมื่อมองเห็นลักษณะแตกลายงา และบวมโป่งผิดรูป ให้รีบเปลี่ยนทันทีครับ ก่อนท่อยางจะปริหรือแตก และเช็คตัวเหล็กที่ใช้รัดข้อต่อของท่อยางด้วยว่าหลุด-หลวมหรือชำรุดหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบน้ำรั่วและส่งผลให้เครื่องยนต์ฮีทได้ 

ลิ้นปีกผีเสื้อ (ลิ้นคันเร่ง) ที่มีท่อยางต่อจากระบบระบายความร้อนเพื่ออุ่นอากาศเข้าตอนเครื่องเย็นๆ 
และสำหรับรถบางรุ่นอาจมีท่อทางเดินของน้ำหล่อเย็นนี้ไปเลี้ยงระบบอื่นในเครื่องยนต์ เช่น การอุ่นไอดีที่ลิ้นปีกผีเสื้อ ก็ควรตรวจจุดนี้พร้อมกันด้วยนะครับ และขอย้ำอีกครั้งครับว่า ทุกขั้นตอนที่บอกไปต้องทำขณะเครื่องเย็นเท่านั้น
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ  กรณีเกิดการรั่วซึมน้อยๆ ยังสามารถขับไปศูนย์บริการใกล้ที่สุดได้ โดยเตรียมขวดน้ำสำรองเผื่อไว้และจอดพักเป็นระยะ เพื่อเช็คระดับน้ำอย่าให้ลดต่ำเด็ดขาดครับ ส่วนถ้ารั่วจนไหลทิ้งเป็นก๊อกน้ำให้ติดต่อข้อความช่วยเหลือจากศูนย์ประจำของคุณครับ อย่าเสี่ยงขับต่อไป 
นอกจากนี้ การแก้ไขท่อยางรั่วนั้น หากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายรถจริงๆ ให้หากระป๋องน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่ม แล้วใช้มีดหรือคัตเตอร์ผ่าให้เหลือแค่ทรงกระบอก และตัดให้สามารถพันรอบด้านนอกท่อยางได้ โดยก่อนที่จะพันรอบให้ใช้ผ้า เศษยางแผ่นๆ หรือวัสดุที่พอจะหาได้พันลงไปก่อนแล้วค่อยเอาส่วนของกระป๋องพันครอบทับอีกชั้นและใช้เชือกมัดให้แน่น และทดลองเติมน้ำ หลังจากนั้นสตาร์ตเครื่องดูว่าน้ำไหลออกมาได้มากหรือน้อยหรือไม่ อย่าลืมเตรียมขวดน้ำเอาไว้ "ขับไป-เติมไป" ด้วยครับ 
4. พัดลมระบายอากาศ
พัดลมทำหน้าที่ดูดหรือเป่าลมผ่านหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อน โดยเฉพาะช่วงรถติดพัดลมจะทำงานหนักและตลอดเวลา เราจึงต้องสังเกตการทำงานบ่อยๆ 

รุ่นนี้มีพัดลม 2 ตัว คือ พัดลมหลักของเครื่องยนต์และพัดลมเสริมเมื่อแอร์ทำงาน
พัดลมระบายความร้อน ในบางรุ่นอาจมีมากกว่า 2 ตัว แล้วแต่การออกแบบของรถยี่ห้อนั้น และอาจติดส่วนหน้าของรังผึ้งหม้อน้ำหรือด้านหลังก็ได้ โดยให้สังเกตด้วยการเอามืออังลมที่เป่าออกเข้าเครื่องยนต์ว่ามีความแรงในระดับใด ถ้าลมปะทะที่มือแบบเบาๆ แสดงว่าความแรงลมอาจไม่เพียงพอ ให้รีบเข้าศูนย์บริการทันที หรือพัดลม 1 ใน 2 ตัวไม่ทำงานเลย แม้เปิดแอร์แล้ว นั่นหมายความว่าพัดลมนั้นเสีย

พัดลมแบบตัวใหญ่ 1 ตัวทำงาน 2 สเต็ป
ในกรณีรถที่มีพัดลมตัวเดียวให้สังเกตทั้งความแรงลมที่ปะทะมือและฟังเสียงก็ได้ ซึ่งพัดลมแบบนี้จะทำงาน 2 สเต็ป คือ ไม่เปิดแอร์ อุณหภูมิร้อนถึงระดับที่ตั้งไว้จะหมุนในสเต็ปที่ 1 แต่หากเปิดแอร์เครื่องยนต์ต้องการระบายความร้อนเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงถึงระดับที่ตั้งไว้ พัดลมจะเพิ่มความแรงอีกสเต็ป (คล้ายการเปิดพัดลมที่บ้านนั่นแหละครับ) ดังนั้นถ้าพัดลมไม่ทำงานตามนี้แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น รีบเข้าศูนย์ทันทีครับ
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ หากสภาพการจราจรคล่องตัวให้ขับโดยใช้ความเร็วพอสมควร เพื่อให้ลมพัดเข้าหม้อน้ำ และห้ามเปิดแอร์เด็ดขาดครับ แต่ถ้าเจอจราจรติดขัดรีบติดต่อศูนย์ประจำของคุณให้มาแก้ไขน่าจะดีกว่าครับ
5. ตรวจรอยรั่ว
โดยทั่วไปเมื่อมีการรั่วซึมของน้ำมักจะเห็นร่องรอยคราบสนิมสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือส้ม และคราบน้ำยาหม้อน้ำสีเขียวหรือฟ้าที่เติมเข้าไป นั่นแสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น ส่งผลให้น้ำในถังพักหรือหม้อน้ำจะลดลงเร็วผิดปกติ

มีคราบสนิมไหลออกมาจากท่อยาง
ตรวจรอยรั่วว่ามีคราบน้ำหยดหรือไหลเยิ้มออกมาตามท่อทางเดิน จุดข้อท่อต่างๆ หรือไม่ และในรุ่นรถที่ใช้งานมานานๆ อาจมีคราบน้ำสนิมสีเหลืองทองแห้งๆ ทิ้งเอาไว้ให้ดูต่างหน้า นั่นแสดงว่าจุดนั้นมีการรั่วซึมของน้ำในระบบหล่อเย็นแน่นอนครับ 
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ  หากยังรั่วไม่มาก พอขับได้ก็สามารถนำรถเข้าศูนย์ได้ทันที แต่ถ้ารั่วมากให้ใช้วิธีแก้ไขตามข้อ 3 นะครับ
6. เช็คสายพานปั๊มน้ำ
ระบบน้ำระบายความร้อนต้องมีปั๊มน้ำเพื่อสร้างแรงดันส่งให้น้ำหมุนเวียนในระบบ โดยใช้สายพานเป็นตัวขับ ซึ่งรับกำลังจากพู่เลย์ของเครื่องยนต์อีกที ดังนั้นควรตรวจดูอย่างสม่ำเสมอ

เปิดฝากระโปรงทั้งที ควรดูสภาพสายพานว่าไม่แตกลายงา ถ้าเจอให้รีบเปลี่ยน ไม่งั้นอาจได้กินข้าวลิงกลางทาง

สายพานปั๊มน้ำ คือ สายพานเส้นที่ใช้หมุนมู่เล่ย์ของปั๊มน้ำเพื่อสร้างแรงดันให้หมุนเวียนน้ำในระบบระบายความร้อน ส่วนใหญ่มักอยู่ตรงหน้าเครื่องยนต์ (สายพานเส้นนี้อาจหมุนพ่วงชุดไดชาร์จ หรือปั๊มน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ด้วย) หากขาด ตึงเกินไป หรือหย่อนเกินไป จะส่งผลให้การหมุนพู่เลย์ตัวปั๊มน้ำไม่สมบูรณ์ และระบบไหลเวียนน้ำเพื่อระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควร แต่หากตรวจดูสภาพของเส้นสายพานแล้วว่ามีรอยแตก กรอบ ฉีกขาด ให้รีบนำรถเข้าศูนย์บริการทันที 
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ  ถ้าสายพานขาดแล้ว คงต้องจอดและติดต่อช่างมาดูแลให้ดีกว่าครับ
7. วาล์วน้ำ (Thermostat)
วาล์วน้ำ ทำหน้าที่เปิด-ปิด เป็นตัวกำหนดปริมาณน้ำให้ไหลเข้าไปในเครื่องยนต์อย่างเหมาะสมตามอุณหภูมิต่างๆ หากเปิดมากไปในขณะอุณหภูมิต่ำ เครื่องจะไม่ถึงอุณหภูมิทำงานปกติการสึกหรอสูง หรือเปิดน้อยไป (เนื่องจากค้าง) น้ำไม่วนเข้าเครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงเกินไป ชุดวาล์วน้ำถูกติดตั้งกั้นระหว่างทางที่น้ำไหลเข้าเครื่องยนต์ เราจะดูอย่างไร?  วิธีสังเกตอาการวาล์วน้ำตายหรือเสียในเบื้องต้นมีดังนี้ 

หน้าตาของวาล์วน้ำ
วิธีตรวจเช็คที่ง่ายๆ อันดับแรกคือ เข็มวัดระดับความร้อนเครื่องยนต์ (เฉพาะรถที่มีมาตรวัดอุณหภูมิ) หากพบว่าระดับสูงเกินครึ่งหรือเกินระดับปกติที่เคยเห็น ให้ลองสังเกตว่าเมื่อขับที่ความเร็วสูงๆ ระดับเข็มวัดลดลงหรือไม่ ถ้าลดลงสาเหตุอาจมาจากระบบพัดลมระบายไม่แรงพอ แต่ถ้ายิ่งขับเร็วระดับความร้อนยิ่งขึ้นนั่นแสดงว่าวาล์วน้ำตายหรือไม่ขยับตัว

แต่ก็อาจมีวิธีสังเกตอื่นๆ อีก เช่น ในกรณีรถรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่มีเข็มวัดความร้อนมาให้ ควรสังเกตไฟสัญลักษณ์รูปปรอทวัดอุณหภูมิสีเหลืองหรือแดง หากเตือนขึ้นมาให้รีบหาที่ปลอดภัยจอดรถและดับเครื่องทันทีครับ
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ หากมีอาการข้างต้นนี้ควรหาที่ปลอดภัยจอดและดับเครื่องยนต์ให้เร็วที่สุด และติดต่อศูนย์บริการทันทีครับ
8. เปิดแอร์แล้วความร้อนขึ้น
เมื่อเปิดแอร์ระดับเข็มความร้อนขึ้นเรื่อยๆ และหากลองปิดแอร์ความร้อนลดระดับลงปกติ นั่นแสดงว่ามีการผิดปกติของระบบระบายความร้อน

เมื่อเปิดแอร์แล้วความร้อนขึ้น อาจเกิดจากระบบพัดลมในส่วนระบายความร้อนคอนเดนเซอร์ (แผงแอร์ร้อนติดกับหม้อน้ำ) ไม่ทำงานหรือลมแรงไม่เพียงพอ และอาจเป็นที่สวิตช์ควบคุมการเปิด-ปิดแอร์ที่ไม่สั่งการไปที่ระบบพัดลมครับ
และการสังเกตอีกวิธีหนึ่งคือ ขับเปิดแอร์ที่ความเร็วต่ำ ความร้อนขึ้น แต่เมื่อขับที่ความเร็วสูงๆ ความร้อนลดระดับลงมาปกติ แสดงว่ามีปัญหาการระบายความร้อนขณะรถจอดอยู่กับที่นั่นก็คือ ระบบพัดลมระบายความร้อนนั่นเอง
การแก้ไขเบื้องต้นก่อนขับไปศูนย์บริการ ไม่ควรเปิดแอร์และนำรถเข้าศุูนย์บริการครับ
ผู้ใช้รถควรใส่ใจดูแลสภาพของเครื่องยนต์รวมถึงอุปกรณ์ชิ้นส่วนอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้รถยนต์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานมากที่สุด อย่าใช้รถอย่างเดียว เราต้องดูแลรถด้วยนะครับ

แท็กที่เกี่ยวข้อง ดูแลรถยนต์อย่างไร ให้แจ่มในช่วงหน้าร้อน
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)