ประเมินวงเงินรู้ผลใน 3 นาที

กับ กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท

เริ่มประเมินวงเงินพร้อมสตาร์ท
ผ่านมือถือ สแกนเลย

ดูวงเงินพร้อมสตาร์ทที่ได้รับ

x
icon-filter ค้นหารถยนต์
product filter
product filter
product filter
product filter
product filter

การรับประกันรถยนต์ ไม่รู้ไม่ได้จริงๆ

icon 10 เม.ย. 56 icon 115,957
การรับประกันรถยนต์ ไม่รู้ไม่ได้จริงๆ


การรับประกันรถยนต์ ไม่รู้ไม่ได้จริงๆ
รถที่ผ่านการจำหน่าย ไม่ว่าจะทั้งที่ซื้อออกมาจากบริษัทแม่ และซื้อมาจากผู้จำหน่ายอิสระ หรือเกรย์ มาร์เก็ต (Grey Market) ย่อมมีการรับประกันตัวสินค้าที่จำหน่าย จะมากหรือน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของบริษัท และนโยบาย ปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง ควรตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับประกันรถของคุณในหนังสือคู่มือการรับประกันที่ส่งมอบมาพร้อมกับตัวรถ ซึ่งการรับประกันรถยนต์จะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ลูกค้ารับมอบรถจากบริษัทรถ หรือผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้ง
กล่าวโดยรวมแล้ว การรับประกันรถใหม่จะถูกกำหนดโดยระยะเวลา หรือระยะทางในการใช้งาน อย่างใดอย่างหนึ่งที่ถึงกำหนดก่อน โดยจะเริ่มนับระยะตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรถ หรือส่งมอบรถเป็นครั้งแรก
ระยะเวลาตั้งแต่ 2-5 ปี และระยะทางตั้งแต่ 50,000 - 300,000 กม. หรือบางยี่ห้อก็ไม่จำกัดระยะทาง แต่ก็มีเงื่อนไขเอาไว้ว่ารถ “ควร” เข้าศูนย์บริการเช็คทุกๆ ระยะ 10,000 กิโลเมตร (บางที่การเข้าศูนย์ตามระยะอาจมีค่าใช้จ่าย หรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ แต่บางที่ก็ฟรีค่าแรง หรือฟรีค่าอะไหล่) บางคนที่ไม่เคยเปิดดูคู่มือรถเลยก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่รับประกันมีอะไรบ้าง? เพราะนั่นหมายถึง ในช่วงระยะเวลารับประกัน หากรถของท่านเกิดความเสียหาย "จากคุณภาพอะไหล่ หรือการประกอบของผู้ผลิต" ทางศูนย์บริการก็จะทำการแก้ไข หรือเปลี่ยนอะไหล่ให้แก่ท่านทันที โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งสิทธิการรับประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงเจ้าของรถรายถัดไป ในกรณีที่คุณขายรถไปแล้ว และรถยังอยู่ในระยะรับประกัน เพื่อประโยชน์ของเจ้าของคนต่อไป
โดยทั่วไปแล้ว การรับประกันรถยนต์ตามเงื่อนไข เช่น 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร จะรับประกันรถยนต์ที่เข้าเช็คตามระยะที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเช็คฟรี และการเช็คที่เสียค่าแรงจนถึง 100,000 กิโลเมตร สำหรับการรับประกันของบริษัทรถยนต์เกือบทั้งหมดเลยก็ว่าได้จะไม่ครอบคลุมถึงอะไหล่ที่มีการสึกหรอตามการใช้งาน ได้แก่ ไส้กรองต่างๆ หัวเทียน ฟิวส์ หลอดไฟ ยางรถยนต์ ผ้าเบรก จานเบรก ใบปัดน้ำฝน โช้คอัพ ลูกหมาก และสารหล่อลื่นทุกชนิด เป็นต้น แต่บางที่ก็มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น รับประกันอะไหล่ที่สึกหรอตามการใช้งานบางส่วน ซึ่งคุณต้องศึกษาจากในคู่มือรับประกัน เพราะแต่ละบริษัทรถยนต์ก็รับประกันในส่วนนี้ไม่เหมือนกัน อาทิ ยางรถยนต์, เครื่องปรับอากาศ ที่มีการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตอยู่แล้ว หรือแบตเตอรี่ติดรถยนต์ ที่มีการรับประกันของบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่เช่นกันใน 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร หรือวิทยุที่มีการรับประกัน 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร ตามการใช้งานตามเงื่อนไขของผู้ผลิตนั้นๆ
ในกรณีของรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮบริด อย่างค่ายรถญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฮบริด (12 โวลท์) มีการรับประกัน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร แล้วแต่ระยะใดถึงก่อน (ตามมาตรฐานการรับประกันคุณภาพของผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฮบริด คือ ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันส่งมอบรถ หรือระยะทาง 100,000 กิโลเมตรแล้วแต่ระยะใดถึงก่อน ในส่วนของการขยายระยะเวลารับประกันที่เพิ่มเติม จนถึง 5 ปีนับตั้งแต่วันส่งมอบรถ โดยไม่จำกัดระยะทางนั้นเป็นข้อเสนอพิเศษของบริษัทนั้นๆ)
กรณีที่คุณซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถกับทางบริษัทรถ คุณก็ได้สิทธิ์ในการรับประกันเช่นเดียวกันครับ เพราะคุณภาพเทียบเท่ากับรถยนต์ใหม่ ส่วนที่ติดตั้งรับประกันคุณภาพอุปกรณ์ตกแต่งสูงสุด 3 ปีหรือ 100,000 กิโลเมตรจนสิ้นสุดตามระยะรับประกันรถใหม่ หรืออย่างน้อยที่สุด รับประกัน 1 ปีหรือ 20,000 กิโลเมตร แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน
ข้อยกเว้นในการรับประกัน
  1. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมอันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานเช่นค่าปรับตั้งศูนย์ล้อ, ถ่วงยาง, เปลี่ยนน้ำยารักษาหม้อน้ำ, สารหล่อลื่น, การเปลี่ยนไส้กรองต่างๆ, ยางใบปัดน้ำฝน, ฟิวส์, หลอดไฟ, หัวเทียน, ผ้าเบรก, สายพาน, สายพานราวลิ้นที่สึกหรอ การเติมน้ำยาแอร์ และรายการอื่นๆ ตามที่บริษัทรถเหล่านั้นกำหนดว่าต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน
  2. รถที่ดัดแปลงสภาพหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อการใช้งานที่มิใช่การใช้งานตามปกติของรถยนต์แต่ละประเภท เช่น การแข่งขัน, บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ติดถังแก๊ส LPG ฯลฯ
  3. การละเลย หรือขาดการดูแลที่ถูกต้องตลอดจนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, สารหล่อลื่น หรือสารเคมีที่ผิดจากที่กำหนดไว้ใน “คู่มือการใช้รถ”
  4. ความเสียหายของพื้นผิวตัวถังรถที่เกิดจากสภาพแวดล้อม หรือมิได้เกิดจากการประกอบจากโรงงาน เช่น ฝนกรด, สารเคมี, เกลือ, น้ำยางต้นไม้, หรือจากภัยธรรมชาติ เช่น ลูกเห็บ, พายุฝน, ฟ้าผ่า, น้ำท่วม ฯลฯ
  5. การเสื่อมสภาพของสี (สีซีด, สีตกหรือจางลง, สีผิดเพี้ยน) หรือเกิดสนิม เนื่องจากขาดการดูแลรักษา การใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง หรือการขัดเคลือบสีรวมทั้งการจัดเก็บรถไว้ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
  6. ความเสียหายที่เกิดจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นทางด้านกลไก หรือทางเคมี เช่น สีที่ถูกสะเก็ดหิน หรือสนิมที่เกิดจากภายนอกสู่ภายใน ผงเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม
  7. ถอด หรือแยกชิ้นส่วนออกจากกัน
  8. รถที่ขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง และถูกใช้เกินกำลัง เช่น ใช้ในการแข่งขัน
  9. การปรับตั้ง หรือซ่อมจากศูนย์บริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์บริการมาตรฐาน โดยที่เจ้าของรถรับทราบการกระทำนั้น
  10. ความเสียหายจากอุบัติเหตุ หรือเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ
  11. รถที่ไม่ได้ตรวจสอบตามระยะทุก 10,000 กิโลเมตร หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือการใช้รถ
  12. รถที่มีมาตรวัดระยะทางไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม
  13. เสียงดังการสั่นสะเทือนการสึกหรอ การฉีกขาด และการเสื่อมสภาพตามปกติ
  14. ความเสียหาย และค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือการรับประกัน เช่น ค่าที่พัก, ค่าน้ำมัน, ค่าโทรศัพท์, ค่าเสียเวลา, ความเสียหายทางธุรกิจ ฯลฯ
  15. ความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากอะไหล่เทียม หรืออะไหล่ที่มิได้ผลิต หรือจำหน่ายโดยบริษัท หรือตัวแทนจำหน่าย
  16. การรับประกันจะไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากการละเลย หรือการนำรถเข้ารับบริการไม่ทันท่วงที
ทั้งนี้ การนำรถเข้ารับบริการตรวจเช็คระยะตามกำหนด เป็นสิ่งที่ท่านเจ้าของรถ ต้องปฏิบัติเพื่อบำรุงรักษารถ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ตามนโยบาย การรับประกันคุณภาพอย่างครบถ้วน
ส่วนใหญ่รถที่อยู่ในระยะรับประกัน ศูนย์บริการจะให้บริการตรวจเช็คฟรีค่าแรง ยกเว้นค่าน้ำมันหล่อลื่น, สารหล่อลื่น และอะไหล่ ที่ต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งานปกติ โดยเจ้าของรถต้องนำรถเข้ารับบริการตามระยะทาง และเวลาที่กำหนดแล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
กรณีซื้อรถป้ายแดงมาแล้วมีปัญหา ควรทำอย่างไร?
หากใครหลายคนๆ ที่ได้ติดตามข่าวสาร จะพบว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีหลายๆ คนที่ซื้อรถป้ายแดงมาใช้แล้วเกิดปัญหา ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือซ่อมแล้วซ่อมอีก โดยที่ทางดีลเลอร์ผู้จำหน่าย หรือบริษัทแม่ไม่รับผิดชอบ ปล่อยปละละเลย จนต้องมีการออกมาทุบรถโชว์บ้าง ติดสติ๊กเกอร์เขียนประจานแล้วขับไปทั่วเมืองบ้าง จอดประจานหน้าโชว์รูม บ้างก็โพสรูป และข้อความต่างๆ ลงในสื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทรถบ้าง แม้ว่าในปัจจุบันทางหน่วยงานภาครัฐก็มีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขึ้นมาเพื่อรับเรื่องราวต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้รถแล้ว แต่ก็ต้องใช้เวลานานในการติดตามเรื่อง ผู้ใช้รถคันนั้นเองก็ต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมด้วยเช่นกัน
เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ บริษัทรถก็พยายามตรวจสอบรถยนต์ทุกขั้นตอนการผลิตก่อนส่งรถออกจากโรงงานผลิต เนื่องจากการผลิตรถทุกวันนี้อาศัยเครื่องจักรในการผลิตแทบทั้งสิ้น ดังนั้นอาจจะมีปัญหาผิดพลาดเฉพาะจุดได้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งอาจจะตรวจสอบไม่พบ แต่จากการวิจัยพบว่า ในการผลิตรถนั้นจะมีเพียง 1 ในแสนคันที่มีปัญหา และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นบริษัทรถส่วนมากจะเจรจายอมความกับผู้ซื้อรถได้ และจ่ายค่าเสียหายหรือไม่ก็นำรถกลับไปซ่อมแซม อาจจะมีบางกรณีที่ยอมความกันไม่ได้ก็ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่สำหรับการเปลี่ยนรถใหม่ในกรณีที่รถมีปัญหานั้น แทบจะไม่มีในนโยบายของบริษัทรถใดๆ เลย
กรณีนี้ เจ้าของรถสามารถฟ้องศาลให้ผู้ขายรับผิดฐานผิดสัญญาซื้อขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 472 ได้ (มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด) ในมาตรานี้ ย่อมใช้ได้ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ แต่คุณควรจะเจรจากับทางผู้ขายว่ายอมให้เปลี่ยนรถใหม่ได้หรือไม่ หากผู้ขายเลือกที่จะไม่ยินยอม ก็ฟ้องได้เลยครับ เพราะเป็นทางเดียว ที่บริษัทรถจะออกมารับข้อเสนอ หรือเจรจาไกล่เกลี่ยรับซื้อรถคืนจนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
สำหรับกฏหมายการคุ้มครองเกี่ยวกับผู้บริโภค สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหน้าเว็บไซต์ของ “สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค”
แท็กที่เกี่ยวข้อง
CAR GURU
เขียนโดย เช็คราคา.คอม CAR GURU

พูดคุยกับกูรูได้ที่




เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และช่วยให้เราปรับปรุง และนำเสนอเนื้อหาตรงตามความสนใจของท่าน ท่านสามารถดู Privacy Notice และ ดู Cookies Policy ของเราได้ ที่นี่ ทั้งนี้ ท่านจะยินยอมให้เราเก็บคุกกี้ทั้งหมด หรือให้เก็บแค่บางส่วนโดยการคลิกเลือก ตั้งค่า

ท่านสามารถเลือกให้ความยินยอมการเก็บคุกกี้เป็นเรื่องๆ ได้ที่นี่

เมื่อคุณเข้าชมเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น checkraka เราอาจจัดเก็บ หรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของคุณในรูปแบบของคุกกี้ และเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึง เช่น tag และ pixel (เรียกรวมกันว่า “คุกกี้”) ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้โดยตรง แต่ช่วยให้คุณใช้งานเว็บไซต์ได้ปลอดภัย และตรงตามความต้องการมากขึ้น คุณอาจไม่ยินยอมให้เราเก็บคุกกี้บางประเภทได้ โดยการคลิกตามหัวข้อข้างล่างนี้

ประเภทคุกกี้
อ่านเพิ่มเติม ที่นี่
ยินยอม / ไม่ยินยอม
คุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเสมอ
(Strictly Necessary)
คุกกี้สำหรับการใช้งานเว็บไซต์
(Functionality)
คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและวิเคราะห์
(Performance & Analytics)
คุกกี้เพื่อการตลาด
(Marketing)